Tuesday, June 4, 2013

การจัดการเลี้ยงดูกระบือ หรือ ควาย มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

การจัดการเลี้ยงดูกระบือ หรือ ควาย มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้



1. การคัดเลือกกระบือเพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์

พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์กระบือจะต้องมีลักษณะดี มีการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพ การใช้อาหารดี มีรูปร่างสมส่วน มีอายุ 2.5 – 3 ปี เพศผู้สูงไม่น้อยกว่า 130 เซนติเมตร รอบอกไม่น้อยกว่า 190 เซนติเมตร เพศเมียสูงไม่น้อยกว่า 125 เซนติเมตร รอบอกไม่น้อยกว่า 185 เซนติเมตร ซึ่งมีหลักในการพิจารณาคัดเลือกกระบือ หรือ ควายมาเป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ดังนี้
1.1 ดูจากสมุดประวัติ (pedigree) มาจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
1.2 ทำการทดสอบลูกหลาน (progeny test) พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ตัวใดให้ดูที่มีลักษณะก็คัดไว้ทำพันธุ์
1.3 คัดเลือกโดยการตัดสินจากการประกวด ส่วนมากจะให้เป็นระดับคะแนนตามปกติกระบือให้ลูกปีละตัวหรือ 3 ปี 2 ตัว ถ้ากระบือให้ลูกต่ำกว่าร้อยละ 60 – 70 ควรตรวจดูข้อบกพร่องเพื่อที่จะต้องแก้ไข เช่น การให้อาหาร แร่ธาตุ การจัดการผสมพันธุ์ให้ถูกช่วงระยะของการเป็นสัด

2. การผสมพันธุ์กระบือ หรือ ควาย

โดยปกติกระบือจะโตเป็นหนุ่มเป็นสาวพร้อมที่จะผสมพันธุ์นั้น เพศผู้จะมีอายุ 3 ถึง 4 ปี เพศเมียมีอายุ 2 – 3 ปี แล้วแต่ความสมบูรณ์ของกระบือ จะใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว คุมฝูงแม่พันธุ์ได้ไม่เกิน 25 ตัว แต่ถ้าแยกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เลี้ยงต่างหากกัน พ่อพันธุ์ 11 ตัว สามารถคุมฝูงตัวเมียได้ 100 ตัว โดยสังเกตว่าแม่พันธุ์ตัวไหนเป็นสัดก็จะจับตัวผู้เข้าผสม การผสมพันธุ์กระบือ หรือ ควายปฏิบัติได้ดังนี้
2.1 การสังเกตการเป็นสัดของแม่พันธุ์ กระบือที่แสดงอาการเป็นสัดจะแสดงอาการดังนี้
-เอาหัวชนเพศผู้เหมือนหยอกล้อ
-เอาหัวคลอเคลียใต้คอและท้องของเพศผู้
-ใช้ลำตัวถูลำตัวเพศผู้
-เดินนำหน้าโดยหันก้นให้เพศผู้ บางครั้งอาจจะมีการยกหางขึ้น
-มีเสียงคำรามเบา ๆ
-ปัสสาวะบ่อย ๆ
2.2 เมื่อพบอาการเป็นสัดของแม่พันธุ์นานประมาณ 24 ชั่วโมงแล้ว ก็ทำการผสม อาจใช้วิธีการให้พ่อพันธุ์ผสมโดยตรงหรือผสมเทียมก็ได้
2.3 หากผสมไม่ติดจะกลับมาเป็นสัดอีกทุก ๆ 28 – 46 วัน ให้ทำการผสมใหม่ แต่ถ้าแม่พันธุ์ไม่เป็นสัดในระยะเวลา 1 เดือน ก็ถือว่าผสมติดและตั้งท้อง (ประสบ บูรณมานัส, 2520)

3. การดูแลแม่กระบือ หรือ ควายท้องถึงคลอดลูก
เมื่อกระบือแม่พันธุ์ตั้งท้องแล้ว การจัดการเลี้ยงดูให้ดีขึ้นเนื่องจากขณะนี้แม่พันธุ์ต้องกินอาหารเพื่อ เลี้ยงสองชีวิต อาหารโปรตีน แร่ธาตุ ต้องเพียงพอให้กระบือกินหญ้าสดเต็มที่ อาจเสริมอาหารข้นบ้างวันละ 1 – 2 กิโลกรัม มีก้อนแร่ธาตุให้กระบือได้เลียกินเพื่อเสริมแร่ธาตุ กระบือจะตั้งท้องนาน 10 เดือน หรือ 316 วัน การจัดการแม่กระบือท้องถึงคลอดลูกปฏิบัติได้ดังนี้
3.1 การจัดการดูแลแม่กระบือท้อง ทำได้ดังนี้
-ให้กระบือทำงานบ้างเพื่อเป็นการออกกำลังกายจะทำให้กระบือคลอดลูกง่าย แต่อย่าให้ทำงานหนักเกินไป
-อย่าให้ท้องผูกจะคลอดลูกยาก
-อย่าให้เดินไกล ๆ หรือวิ่งเร็ว ๆ
-อย่านำเข้าไปรวมกับกระบือแท้งลูก
-เมื่อแม่กระบือท้องแก่ใกล้คลอดต้องแยกไปขังไว้ต่างหาก

3.2 อาการของแม่กระบือ หรือ ควายที่จะคลอดลูก จะมีอาการดังนี้
-สองถึงสามวันก่อนคลอด เต้านมจะเต็มและขยายใหญ่ขึ้น มีน้ำนมไหลเวลาบีบ
- แนวท้องหย่อน
- อวัยวะเพศบวม
-อาการทุรนทุราย แสดงอาการปวดท้อง โดยทั่วไปแม่กระบือจะคลอดลูกเองในลักษณะยืนคลอด ใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง
-รกต้องออกภายใน 4 ชั่วโมงหลังคลอด

3.3 เมื่อแม่กระบือ หรือ ควายคลอดลูกแล้วให้ปฏิบัติดังนี้
-เช็ดทำความสะอาดตัวลูกกระบือ
-ตัดสายสะดือลูกกระบือ
-รกภายในตัวแม่ต้องออกภายใน 4 ชั่วโมง ถ้าไม่ออกอาจจะต้องฉีดยาขับรก
-ถ้าลูกแสดงอาการแน่นิ่ง ให้ช่วยโดยดึงลิ้นออกจากปากแล้วจับขายกให้หัวห้อยลง
-เมื่อลูกกระบือหายใจได้แล้วควรช่วยให้ลูกกระบือกินนมแม่ที่เป็นนมน้ำเหลืองโดยเร็ว
-แม่กระบือเมื่อคลอดแล้วให้กินหญ้าอ่อน ๆ และพักผ่อน
-หากนมคัด ผู้เลี้ยงต้องรีดนมออกบ้าง
-แม่กระบือที่ให้นมลูกอาจจะขาดธาตุแคลเซียม จะมีอาการนอนหงายหน้าเอาหัวทับส่วนหลังลักษณะนี้เรียกว่า ไข้นม ต้องแก้ไขโดยฉีดแคลเซียมกลูโคเนตให้กับแม่กระบือ

4. การเลี้ยงดูลูกกระบือ หรือ ควายก่อนหย่านม
เมื่อลูกกระบือคลอดแล้วจะปล่อยให้อยู่กับแม่และในระยะนี้เป็นระยะที่อันตราย มากที่สุด จะต้องดูแลลูกกระบือเป็นอย่างดี และจะต้องให้ลูกกินนมน้ำเหลืองจากแม่ในระยะ 3 วันแรก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ควรให้ลูกกินนมแม่จนอายุถึง 3 – 4 สัปดาห์ ก็หานมเทียมมาให้ลูกกระบือกินได้ หากแม่กระบือมีนมไม่พอ

การจัดการเลี้ยงดูลูกกระบือ หรือ ควายก่อนหย่านมปฏิบัติได้ดังนี้
4.1 กระเพาะลูกกระบือจะสมบูรณ์เมื่ออายุ 4 เดือนขึ้นไป ซึ่งลูกกระบือสามารถกินหญ้าได้บ้างแล้ว แต่การให้ลูกกระบือกินนมแม่ต่อไปจนถึงอายุ 6 เดือน โดยปกติลูกกระบือจะหย่านมได้เองเมื่ออายุ 7 – 8 เดือน
4.2 นำเครื่องหมายประจำตัวลูกกระบือ ทำได้หลายวิธี เช่น
-ใช้โซ่ห้อยคอแขวนป้ายพลาสติก
-การสักเบอร์หู
-การตีตราที่เขา และสะโพก
4.3 จดบันทึกพันธุ์ประวัติ
4.4 ตอนกระบือตัวผู้ที่ไม่ต้องการเก็บไว้ทำพันธุ์

5. การจัดการเลี้ยงดูกระบือ หรือควายหลังหย่านมถึงหนุ่มสาวเมื่อลูก กระบืออายุ 6 เดือนไปแล้ว ก็จะเริ่มหย่านม การจัดการช่วงนี้ง่ายขึ้นโดยให้กระบือลงแทะเล็มหญ้าในทุ่งหญ้า และอาจเสริมด้วยอาหารข้นบ้างบางครั้ง ลูกกระบือที่ไม่ได้ตอนควรแยกออกจากฝูง ส่วนลูกกระบือเพศเมียและเพศผู้ที่ตอนแล้วจะปล่อยเลี้ยงรวมกันในแปลงหญ้า การจัดการเลี้ยงดูกระบือ หรือ ควายหลังหย่านมทำได้ดังนี้
5.1 ให้อาหารข้น 1 - 1 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน อาหารผสมควรมีโปรตีน 16 – 18 เปอร์เซ็นต์
5.2 ให้กินหญ้าเป็นอาหารหลัก
5.3 มีก้อนแร่ธาตุแขวนไว้ให้กระบือเลียกิน
5.4 มีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา
5.5 เมื่ออายุ 18 เดือน ควรมีน้ำหนักประมาณ 250 – 300 กิโลกรัม

พันธุ์กระบือ หรือควาย

พันธุ์กระบือ หรือควาย 

http://www.rd1677.com/backoffice/PicUpdate/34699.jpg

กระบือ ในโลกนี้สามารถแยกได้เป็นสองกลุ่มคือกระบือป่า และกระบือบ้านสำหรับกระบือบ้านนั้นก็แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือกระบือปลัก (swamp bufffalo) กระบือแม่น้ำ (river buffalo) กระบือทั้งสองชนิดจะอยู่ใน Family และ Genus เดียวกันคือ bubalus bubalis แต่ก็มีความแตกต่างกันทางสรีระวิทยา รูปร่าง และผลผลิตต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน จากการศึกษาทางด้านชีวภาพโมเลกุลพบว่ากระบือปลักมีจำนวนโครโมโซม 24 คู่ ส่วนกระบือแม่น้ำจะจำนวนโครโมโซม 25 คู่ และสามารถผสมข้ามพันธุ์ระหว่างทั้งสองชนิดนี้ได้

กระบือ หรือควายปลัก
กระบือปลักชนิดนี้จะเลี้ยงกันในประเทศต่างๆ ทางตะวันออกไกล ซึ่งได้แก่ ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาวเป็นต้น แต่เดิมในสมัยก่อนที่ยังไม่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม กระบือชนิดนี้จะเลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในไร่นา เพื่อปลูกข้าวและทำไร่ และเมื่อกระบืออายุมากขึ้นก็จะส่งเข้าโรงฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร

สำหรับลักษณะทั่วไปของกระบือปลักไทยส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักกันอยู่แล้ว กระบือชนิดนี้ จะชอบนอนแช่ปลัก มีรูปร่างล่ำสัน ผิวหนังมีสีเทาเข้มเกือบดำอาจมีสีขาวเผือก มีขนเล็กน้อย ลำตัวหนาลึก ท้องใหญ่ หัวยาวแคบ เขามีลักษณะแบบโค้งไปข้างหลัง หน้าสั้น หน้าผากแบบราบ ตานูนเด่นชัด ช่วงระหว่างรูจมูกทั้งสองข้างกว้าง คอยาวและบริเวณใต้คอจะมีขนขาวเป็นรูปตัววี (chevlon) หัวไหล่และอกนูนเห็นชัด
   
กระบือ หรือควายแม่น้ำ
กระบือชนิดนี้พบในประเทศ อินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ประเทศในยุโรปตอนใต้และยุโรปตะวันออก เป็นกระบือที่ให้นมมากและมีลักษณะเป็นกระบือนมเลี้ยงไว้เพื่อรีดนม กระบือประเภทนี้จะไม่ชอบลงแช่โคลน แต่จะชอบน้ำสะอาด กระบือแม่น้ำจะมีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์มูร่าห์ พันธุ์นิลิ ราวี พันธุ์เมซานี พันธุ์เซอติ และพันธุ์เมดิเตอเรเนียน เป็นต้น กระบือประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่ รูปร่างแข็งแรง ลักษณะทั่วไปจะมีผิวหนังสีดำ หัวสั้น หน้าผากนูน เขาสั้น และบิดม้วนงอ ส่วนลำตัวจะลึกมาก มีขนาดเต้านมใหญ่กว่ากระบือปลัก

โอกาสและข้อได้เปรียบของการเลี้ยงกระบือ หรือควาย

โอกาสและข้อได้เปรียบของการเลี้ยงกระบือ หรือควาย
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh0unrOQJ_t93UKng1IeVJvPMOK0vmBsI7wVIxpSLTEp_-vF03yGEdwoa1Nu8TazLy7-yUdUUJp_e9uVOUPzh5mUasugdmvkbiivmiKKMItTvykRiRlsxT2ZtA9DiZKrX_UQc11hG3r3aNU/s1600/Buffalo58.jpg

กระบือสามารถเลี้ยงในที่ลุ่มได้ เนื่องจากกระบือมีระบบย่อยอาหารที่ยาวกว่าโคและมีจุรินทรีย์ชนิดที่โคไม่มี ดังนั้นกระบือจึงสามารถใช้ประโยชน์อาหารหยาบที่คุณภาพต่ำซึ่งอยู่ในที่ลุ่ม เปลี่ยนเป็นเนื้อได้ดีกว่าโค แต่กระบือเป็นสัตว์ไม่ทนร้อนจึงชอบนอนปลักทำให้แปลงหญ้าเกิดความเสียหาย การเลี้ยงกระบือในรูปฟาร์มจึงเป็นไปได้ยาก

กระบือ หรือควายจะใช้ประโยชน์จากหญ้าธรรมชาติ หญ้าที่เป็นวัชพืชฟางข้าวและสามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อได้ดีกระบือโตเร็วและมี ไขมันน้อย กระบือจะมีน้ำหนักมากกว่าโคพันธุ์เมื่ออายุเท่ากันแต่กระบือจะเลี้ยงง่ายและ ต้นทุนต่ำกว่าและให้เนื้อมากกว่า และเนื้อกระบือมีไขมันต่ำจึงเหมาะในการบริโภคมากกว่าโค แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงกระบือ ขุนแบบโคขุนจะต้องลงทุนสูงและผลที่ได้จะไม่คุ้มทางเศรษฐกิจ
   
กระบือหรือควายสามารถใช้แรงงานในไร่นาและลากเกวียนได้ดีกว่าโคโดยทั่วไป กระบือไถนาได้วันละ 4 ถึง 6 ชั่วโมง หรือประมาณครึ่งไร่ถึงหนี่งไร่การใช้กระบือไถนาจะเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าใช้ รถไถนาขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังจะได้ปุ๋ยจากมูลใส่ไร่นาอีกด้วย ประมาณได้ว่ากระบือหนึ่งตัวให้มูลเป็นปุ๋ยได้ถึงปีละหนึ่งถึงสองตัน ทำให้เกษตรกรสามารถประหยัดค่าปุ๋ยลงได้จำนวนหนึ่ง ปัจจุบันมูลกระบือสามารถขายได้ราคาหากเลี้ยงกระบือหลายตัวก็อาจมีรายได้จาก การขายมูลกระบือได้อีกด้วย 

ปัญหาการเลี้ยง กระบือ หรือควายของเกษตรกร

ปัญหาการเลี้ยง กระบือ หรือควายของเกษตรกร

http://ibic.lib.ku.ac.th/ibicth/images/stories/bufpic1.gif
เกษตรกรไม่สนใจแม่กระบือที่เลี้ยงว่าจะ ได้รับผสมพันธุ์หรือไม่เนื่องจากเกษตรกรเลี้ยงกระบือรายละไม่กี่แม่ การเลี้ยงพ่อกระบือไว้เพื่อใช้ผสมพันธุ์ในฝูงของตนเองมีภาระค่อนข้างมากจึง ไม่เลี้ยงไว้แต่จะปล่อยกระบือไปเลี้ยงรวมกันอยู่ตามทุ่งนาหลังเก็บเกี่ยว หรือที่ว่างเพื่อใช้ประโยชน์สาธารณะ เมื่อกระบือเป็นสัดก็จะผสมกระบือที่เลี้ยงปล่อยอยู่ในฝูง ซึ่งกระบือเพศผู้ดังกล่าวมักจะมีขนาดเล็กและแพร่กระจายลักษณะที่ไม่ต้องการ กระจายไปในฝูงผสมพันธุ์ การที่กระบือมีขนาดและน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ลดลง อัตราการตกลูกต่ำเนื่องจากปัญหาการผสมพันธุ์และการไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร ของเกษตรกรเองมาเป็นเวลานาน เช่นการปล่อยให้กระบือพ่อลูกผสมกันเองจนทำให้เกิดเลือดชิดหรือการตอนกระบือ เพศผู้ตัวใหญ่เพื่อให้ง่ายต่อการด ูและการขายได้ราคาโดยไม่มีการคัดเลือกกระบือตัวใหญ่หรือโตเร็วเก็บไว้เป็น พ่อ-แม่พันธุ์ ทำให้ผลผลิตกระบือไม่เพียงพอต่อการบริโภค

ปัญหาอีกประการหนึ่งคือการลดจำนวนลง อย่างรวดเร็วของประชากรกระบือในประเทศ ซึ่งจากสถิติของกรมปศุสัตว์ ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจากสถิติของกรมปศุสัตว์ ในช่วงระยะเวลา 2.3 ล้านตัว (กรมปศุสัตว์,2540) โดยมีอัตราการลดจำนวนลดจำนวนลงของกระบือร้อยละ 2.94 ต่อปี (ศักดิ์สงวน, 2540) สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากระบือถูกนำไปฆ่าเพื่อการบริโภคมากกว่าการผลิต การฆ่ากระบือเพื่อบริโภคเนื้ออย่างผิดกฎหมาย มีการนำกระบือเพศเมียและกระบือท้องส่งเข้าโรงฆ่าชำแหละซาก จะเห็นได้ว่าจำนวนกระบือที่ส่งเข้าโรงฆ่าสัตว์อย่างถูกกฎหมาย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี เกษตรกรรายย่อยเลิกเลี้ยงกระบือเพื่อใช้แรงโดยการนำเอารถไถนาขนาดเล็กมาใช้ งานแทน การขาดแคลนแรงงานเลี้ยงกระบือหรือไม่มีที่ดินที่จะเลี้ยงกระบือ นอกจากนี้ปัญหาลูกกระบือในฝูงของเกษตรกรมีอัตราการตายก่อนหย่านมสูงมาก ประมาณ 20-30 % ตายจากโรคพยาธิภายใน เกษตรกรไม่สนใจในด้านสุขภาพของกระบือ เช่นไม่มีการทำวัคซีนป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่องใน ส่วนของการพัฒนาด้วนวิชาการการเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์กระบือซึ่งเป็น หน้าที่ของภาครัฐก็ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวิชาการซึ่งได้มีการดำเนินการมา มากและเป็นเวลานานพอสมควร แต่การนำผลงานไปถ่ายทอดและพัฒนาการเลี้ยงกระบือให้แก่เกษตรกรก็ยังไม่มีรูป แบบที่แน่นอน ถูกต้องและชัดเจน เกษตรกรรายย่อยจะขาดแคลนกระบือที่จะใช้แรงงาน ในการทำไร่นา และผลิตลูก เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญและตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะการเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้าน ไม่มีการลุงทุน การเลี้ยงกระบือที่ให้ผลผลิตต่ำไม่สามารถจะมองเห็นผลร้ายแรงในเวลาอันใกล้ ได้ แต่ผลเสียหายจะเกิดขึ้นที่ละน้อยไม่รู้ตัว และเมื่อมีผลผลิตต่ำก็เลิกเลี้ยงไปเลย

ในด้านการส่งเสริมการเลี้ยงกระบือ ที่ภาครัฐดำเนินการ ค่อนข้างจะได้รับความสนใจจากเกษตรกรน้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรไม่เห็นคุณค่าของกระบืออย่างชัดเจนจึงไมให้ความ สำคัญแก่กระบือเท่าที่ควร มีการใช้ประโยชน์ในส่วนของการใช้แรงงานกระบืออยู่บ้างแต่ก็น้อยลงอย่างเห็น ได้ชัดเกษตรกรส่วนใหญ่กลับเปลี่ยนไปใช้แรงงานจากเครื่องจักรแทน กระบือของเกษตรกรส่วนใหญ่จึงถูกปล่อยปละละเลยในด้านการเลี้ยงดู ปล่อยให้หากินเอง ตามทุ่งหญ้าสาธารณะ หรือเดินกินหญ้าตามธรรมชาติข้างทาง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้งานทางด้านส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงกระบือของภาครัฐจึง ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

การเลี้ยงกระบือ หรือควาย Buffalo

การเลี้ยงกระบือ หรือควาย Buffalo

กระบือหรือควาย นับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความสำคัญต่อระดับเกษตรกรรายย่อย ในชนบทอยู่ตลอดมาโดยนับว่าเป็นส่วนหนึ่งในระบบการผลิตการเกษตรที่มีการเพาะ ปลูกเป็นรายได้หลัก นานมาแล้วที่กระบือถูกใช้เป็นแหล่งแรงงานในการเกษตร การใช้มูลเป็นปุ๋ยและเมื่อมีความจำเป็นก็สามารถขายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง ด้วย ในขณะเดียวกันสามารถใช้ผลพลอยได้ในไร่นาซึ่งมีราคาถูกมาใช้เป็นอาหารกระบือ เลี้ยงเพื่อเปลี่ยนให้เป็นเนื้อสัตว์ที่มีราคาสูงได้ จะสังเกตได้ว่ากระบือพื้นเมืองและ.โคที่เลี้ยงด้วยอาหารแบบเดียวกันและอยู่ ในสภาพแวดล้อมเดียวกันนั้น โคจะมีร่างกายผอมในขณะที่กระบือยังคงสภาพเดิม ซึ่งอาจเนื่องจากความแตกต่างทางด้านสัณฐานวิทยาสรีระวิทยา และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทำให้กระบือมีความแตกต่างจากโคและเอื้อ ประโยชน์ในการนำเอาสารอาหารไปเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อได้ดีกว่าโค อย่างไรก็ตามจากข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าการเลี้ยงกระบือ ของเกษตรได้ถูกละเลยจากภาครัฐ และแม้กระทั่งเกษตรกรเองก็นิยมและหันไปเลี้ยงสัตว์พันธุ์ต่างประเทศ การเลี้ยงกระบือของเกษตรกรยังเป็นไปแบบพื้นบ้านไม่มีระบบการผลิตในเชิงธรุ กิจ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการมองข้ามความสำคัญดังกล่าวซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับ ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรเองด้วย  

ในสมัยก่อนประเทศไทยมีการเลี้ยงกระบือกันเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะใน ภาคอีสาน ส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้เพื่อใช้งานและเพื่อนำเนื้อมาบริโภค แต่หลัง จากมีเครื่องจักรเครื่องกลเข้ามาแทนที่ จำนวนกระบือในประเทศไทยก็ลดลงไปมาก บางจังหวัดแทบจะไม่มีกระบือให้เห็นเลย ปัจจุบันนี้น้ำมันมีราคาแพงมาก จึงทำให้เกษตรกรบางรายหันกลับไปใช้กระบือเป็นแรงงานในไร่นาแทนเครื่องจักร มากขึ้น บางหมู่บ้านโดยเฉพาะในภาคอีสานหันกลับมาใช้กระบือเป็นแรงงานในการทำนา ผลพลอยได้ก็คือ ได้เนื้อกระบือมาบริโภค การจัดการเลี้ยงดูกระบือไม่ยุ่ง ยากเหมือนโค เนื่องจากกระบือเลี้ยงง่าย ทนโรค กินอาหารได้เกือบทุกชนิด การเลี้ยงกระบือจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เกษตรกรควรให้ความสนใจ

ความสำคัญของควายไทย

ความสำคัญของควายไทย

ควายไทยแสนรู้ ประเพณีวิ่งควาย
ควายไทยแฟนซี ควายไทยสวยงาม








2



























ประโยชน์ของการเลี้ยงกระบือ
 
1. แรงงาน (ไถนา, เทียมเกวียน, นวดข้าว)

2. ลดปัญหาราคาเชื้อเพลิงสำหรับเกษตรกร

3. ให้ผลผลิต นม, เนื้อ, หนัง, เขา, กระดูก

4. ได้มูลใช้เป็นปุ๋ยในไร่นา

5. มีรายได้จากการขายปุ๋ย

6. เป็นทรัพย์สินของเกษตรกร

7. ช่วยให้เกิดระบบเกษตรผสมผสาน
 

 
รูปแบบการใช้ประโยชน์
 
ควายไถนา ควายเทียมเกวียน
   
   
การแข่งขันวิ่งควาย การแข่งขันควายชน
   
 

 
การใช้ประโยชน์จากมูลควาย
 



เปรียบเทียบการใช้งานระหว่างควายกับรถไถเดินตาม
 
 

 
** ควาย 1 ตัว สามารถผลิตปุ๋ยคอกได้ถึง 2 ตันต่อปี ราคาจำหน่าย 1.5 บาท/กิโลกรัม






Saturday, December 8, 2012

การใช้ประโยชน์ ควาย



1. แรงงาน (Draff power)

ควายเป็นแรงงานที่มีราคาถูกกว่ารถไถขนาดเล็ก ในการไถนา เสียค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูไม่มาก โดยทั่วๆไปเกษตรกรใช้ควายทั้งเพศผู้ เพศเมียในการทำงาน เมื่ออายุ 3 ปี เริ่มฝึกสอนให้ทำงาน และเมื่ออายุ 4 ปีขึ้นไป จึงเริ่มใช้งานจริงใช้ไถนาวันละ 4-6 ชม. ได้งานวันละครึ่งไร่ถึง 1 ไร่ การใช้ควายไถนาไม่ทำให้ดินแน่น และสามารถเดินได้ดีในที่มีน้ำขัง

2. น้ำนม(Milk)

น้ำ นมที่ได้จากควายจะมีปริมาณไขมันสูง โปรตีนในน้ำนมมีปริมาณเคซีนสูงกว่าอัลบูมิน และโกลบูลิน มากกว่าในน้ำนมวัวเล็กน้อย มีฟอสฟอรัสเป็น 2 เท่าของน้ำนมวัว น้ำนมเป็นสีขาว ไวตามินเอสูง เช่นเดียวกับน้ำนมวัว
ผลิตภัณฑ์จากน้ำนม ควาย ได้แก่ เนย(butter) น้ำมันเนย(butter oil) เนยแข็ง(soft, hard cheese) นมข้น นมระเหยน้ำ ไอศกรีม โยเกิร์ต และ butter milk เป็นต้น เนยแข็งจากน้ำนมควายนั้นจะมีสีขาว ใช้น้ำนมดิบในการผลิตน้อยกว่าน้ำนมวัว เนื่องจากมีปริมาณไขมันสูงกว่า จึงเป็นที่นิยมบริโภคในหลายประเทศ ซึ่งชื่อเรียกก็จะแตกต่างกันไป เช่น mozzarella, ricotta, salty cheese เป็นต้น แต่ควายปลักจะให้ปริมาณน้ำนมน้อยกว่าควายแม่น้ำ โดยควายปลักจะให้ปริมาณน้ำนมเฉลี่ยประมาณ 1 ลิตร/วัน ควายแม่น้ำให้ปริมาณน้ำนมกว่า 5 ลิตร/วัน

3. เนื้อ(Meat)

เนื้อ ควายมีความแตกต่างจากเ้นื้อวัว คือ มีสีเข้มกว่า ไขมันมีสีขาว กล้ามเนื้อมีไขมันแทรกน้อยกว่า(2-3% marbling) เส้นใยกล้ามเนื้อ(muscle) ของควายหนากว่า เปอร์เซ็นต์ซากโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 42-49 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ขึ้นกับความอ้วนของสัตว์ ถ้าผ่านการขุนอย่างดี อาจได้เปอร์เซ็นต์ซากถึง 53 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว

4. ได้มูลเป็นปุ๋ย

ควาย ขนาดใหญ่ให้มูลเป็นปุ๋ยในไร่นาประมาณปีละ 2-3 ตันต่อตัว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในไร่นาได้ และสามารถจำหน่ายไปเป็นปุ๋ยเป็นรายได้เสริม หรืออาจนำไปใช้ผลิตเป็นแก๊สชีวภาพได้อีกด้วย

5. ประโยชน์จากพื้นที่ลุ่ม

ควายสามารถเปลี่ยนอาหารคุณภาพต่ำและวัชพืชมาเป็นเนื้อได้ดี ประหยัดค่าอาหารในการเลี้ยง

6. เป็นทรัพย์สินของเกษตรกร


เลี้ยงไว้ใช้งานแล้วยังสามารถไว้ขายในยามที่เกษตรกรขาดแคลนทุนทรัพย์