Tuesday, June 4, 2013

การจัดการเลี้ยงดูกระบือ หรือ ควาย มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

การจัดการเลี้ยงดูกระบือ หรือ ควาย มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้



1. การคัดเลือกกระบือเพื่อใช้เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์

พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์กระบือจะต้องมีลักษณะดี มีการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพ การใช้อาหารดี มีรูปร่างสมส่วน มีอายุ 2.5 – 3 ปี เพศผู้สูงไม่น้อยกว่า 130 เซนติเมตร รอบอกไม่น้อยกว่า 190 เซนติเมตร เพศเมียสูงไม่น้อยกว่า 125 เซนติเมตร รอบอกไม่น้อยกว่า 185 เซนติเมตร ซึ่งมีหลักในการพิจารณาคัดเลือกกระบือ หรือ ควายมาเป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ดังนี้
1.1 ดูจากสมุดประวัติ (pedigree) มาจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
1.2 ทำการทดสอบลูกหลาน (progeny test) พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ตัวใดให้ดูที่มีลักษณะก็คัดไว้ทำพันธุ์
1.3 คัดเลือกโดยการตัดสินจากการประกวด ส่วนมากจะให้เป็นระดับคะแนนตามปกติกระบือให้ลูกปีละตัวหรือ 3 ปี 2 ตัว ถ้ากระบือให้ลูกต่ำกว่าร้อยละ 60 – 70 ควรตรวจดูข้อบกพร่องเพื่อที่จะต้องแก้ไข เช่น การให้อาหาร แร่ธาตุ การจัดการผสมพันธุ์ให้ถูกช่วงระยะของการเป็นสัด

2. การผสมพันธุ์กระบือ หรือ ควาย

โดยปกติกระบือจะโตเป็นหนุ่มเป็นสาวพร้อมที่จะผสมพันธุ์นั้น เพศผู้จะมีอายุ 3 ถึง 4 ปี เพศเมียมีอายุ 2 – 3 ปี แล้วแต่ความสมบูรณ์ของกระบือ จะใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว คุมฝูงแม่พันธุ์ได้ไม่เกิน 25 ตัว แต่ถ้าแยกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เลี้ยงต่างหากกัน พ่อพันธุ์ 11 ตัว สามารถคุมฝูงตัวเมียได้ 100 ตัว โดยสังเกตว่าแม่พันธุ์ตัวไหนเป็นสัดก็จะจับตัวผู้เข้าผสม การผสมพันธุ์กระบือ หรือ ควายปฏิบัติได้ดังนี้
2.1 การสังเกตการเป็นสัดของแม่พันธุ์ กระบือที่แสดงอาการเป็นสัดจะแสดงอาการดังนี้
-เอาหัวชนเพศผู้เหมือนหยอกล้อ
-เอาหัวคลอเคลียใต้คอและท้องของเพศผู้
-ใช้ลำตัวถูลำตัวเพศผู้
-เดินนำหน้าโดยหันก้นให้เพศผู้ บางครั้งอาจจะมีการยกหางขึ้น
-มีเสียงคำรามเบา ๆ
-ปัสสาวะบ่อย ๆ
2.2 เมื่อพบอาการเป็นสัดของแม่พันธุ์นานประมาณ 24 ชั่วโมงแล้ว ก็ทำการผสม อาจใช้วิธีการให้พ่อพันธุ์ผสมโดยตรงหรือผสมเทียมก็ได้
2.3 หากผสมไม่ติดจะกลับมาเป็นสัดอีกทุก ๆ 28 – 46 วัน ให้ทำการผสมใหม่ แต่ถ้าแม่พันธุ์ไม่เป็นสัดในระยะเวลา 1 เดือน ก็ถือว่าผสมติดและตั้งท้อง (ประสบ บูรณมานัส, 2520)

3. การดูแลแม่กระบือ หรือ ควายท้องถึงคลอดลูก
เมื่อกระบือแม่พันธุ์ตั้งท้องแล้ว การจัดการเลี้ยงดูให้ดีขึ้นเนื่องจากขณะนี้แม่พันธุ์ต้องกินอาหารเพื่อ เลี้ยงสองชีวิต อาหารโปรตีน แร่ธาตุ ต้องเพียงพอให้กระบือกินหญ้าสดเต็มที่ อาจเสริมอาหารข้นบ้างวันละ 1 – 2 กิโลกรัม มีก้อนแร่ธาตุให้กระบือได้เลียกินเพื่อเสริมแร่ธาตุ กระบือจะตั้งท้องนาน 10 เดือน หรือ 316 วัน การจัดการแม่กระบือท้องถึงคลอดลูกปฏิบัติได้ดังนี้
3.1 การจัดการดูแลแม่กระบือท้อง ทำได้ดังนี้
-ให้กระบือทำงานบ้างเพื่อเป็นการออกกำลังกายจะทำให้กระบือคลอดลูกง่าย แต่อย่าให้ทำงานหนักเกินไป
-อย่าให้ท้องผูกจะคลอดลูกยาก
-อย่าให้เดินไกล ๆ หรือวิ่งเร็ว ๆ
-อย่านำเข้าไปรวมกับกระบือแท้งลูก
-เมื่อแม่กระบือท้องแก่ใกล้คลอดต้องแยกไปขังไว้ต่างหาก

3.2 อาการของแม่กระบือ หรือ ควายที่จะคลอดลูก จะมีอาการดังนี้
-สองถึงสามวันก่อนคลอด เต้านมจะเต็มและขยายใหญ่ขึ้น มีน้ำนมไหลเวลาบีบ
- แนวท้องหย่อน
- อวัยวะเพศบวม
-อาการทุรนทุราย แสดงอาการปวดท้อง โดยทั่วไปแม่กระบือจะคลอดลูกเองในลักษณะยืนคลอด ใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง
-รกต้องออกภายใน 4 ชั่วโมงหลังคลอด

3.3 เมื่อแม่กระบือ หรือ ควายคลอดลูกแล้วให้ปฏิบัติดังนี้
-เช็ดทำความสะอาดตัวลูกกระบือ
-ตัดสายสะดือลูกกระบือ
-รกภายในตัวแม่ต้องออกภายใน 4 ชั่วโมง ถ้าไม่ออกอาจจะต้องฉีดยาขับรก
-ถ้าลูกแสดงอาการแน่นิ่ง ให้ช่วยโดยดึงลิ้นออกจากปากแล้วจับขายกให้หัวห้อยลง
-เมื่อลูกกระบือหายใจได้แล้วควรช่วยให้ลูกกระบือกินนมแม่ที่เป็นนมน้ำเหลืองโดยเร็ว
-แม่กระบือเมื่อคลอดแล้วให้กินหญ้าอ่อน ๆ และพักผ่อน
-หากนมคัด ผู้เลี้ยงต้องรีดนมออกบ้าง
-แม่กระบือที่ให้นมลูกอาจจะขาดธาตุแคลเซียม จะมีอาการนอนหงายหน้าเอาหัวทับส่วนหลังลักษณะนี้เรียกว่า ไข้นม ต้องแก้ไขโดยฉีดแคลเซียมกลูโคเนตให้กับแม่กระบือ

4. การเลี้ยงดูลูกกระบือ หรือ ควายก่อนหย่านม
เมื่อลูกกระบือคลอดแล้วจะปล่อยให้อยู่กับแม่และในระยะนี้เป็นระยะที่อันตราย มากที่สุด จะต้องดูแลลูกกระบือเป็นอย่างดี และจะต้องให้ลูกกินนมน้ำเหลืองจากแม่ในระยะ 3 วันแรก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ควรให้ลูกกินนมแม่จนอายุถึง 3 – 4 สัปดาห์ ก็หานมเทียมมาให้ลูกกระบือกินได้ หากแม่กระบือมีนมไม่พอ

การจัดการเลี้ยงดูลูกกระบือ หรือ ควายก่อนหย่านมปฏิบัติได้ดังนี้
4.1 กระเพาะลูกกระบือจะสมบูรณ์เมื่ออายุ 4 เดือนขึ้นไป ซึ่งลูกกระบือสามารถกินหญ้าได้บ้างแล้ว แต่การให้ลูกกระบือกินนมแม่ต่อไปจนถึงอายุ 6 เดือน โดยปกติลูกกระบือจะหย่านมได้เองเมื่ออายุ 7 – 8 เดือน
4.2 นำเครื่องหมายประจำตัวลูกกระบือ ทำได้หลายวิธี เช่น
-ใช้โซ่ห้อยคอแขวนป้ายพลาสติก
-การสักเบอร์หู
-การตีตราที่เขา และสะโพก
4.3 จดบันทึกพันธุ์ประวัติ
4.4 ตอนกระบือตัวผู้ที่ไม่ต้องการเก็บไว้ทำพันธุ์

5. การจัดการเลี้ยงดูกระบือ หรือควายหลังหย่านมถึงหนุ่มสาวเมื่อลูก กระบืออายุ 6 เดือนไปแล้ว ก็จะเริ่มหย่านม การจัดการช่วงนี้ง่ายขึ้นโดยให้กระบือลงแทะเล็มหญ้าในทุ่งหญ้า และอาจเสริมด้วยอาหารข้นบ้างบางครั้ง ลูกกระบือที่ไม่ได้ตอนควรแยกออกจากฝูง ส่วนลูกกระบือเพศเมียและเพศผู้ที่ตอนแล้วจะปล่อยเลี้ยงรวมกันในแปลงหญ้า การจัดการเลี้ยงดูกระบือ หรือ ควายหลังหย่านมทำได้ดังนี้
5.1 ให้อาหารข้น 1 - 1 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน อาหารผสมควรมีโปรตีน 16 – 18 เปอร์เซ็นต์
5.2 ให้กินหญ้าเป็นอาหารหลัก
5.3 มีก้อนแร่ธาตุแขวนไว้ให้กระบือเลียกิน
5.4 มีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา
5.5 เมื่ออายุ 18 เดือน ควรมีน้ำหนักประมาณ 250 – 300 กิโลกรัม

พันธุ์กระบือ หรือควาย

พันธุ์กระบือ หรือควาย 

http://www.rd1677.com/backoffice/PicUpdate/34699.jpg

กระบือ ในโลกนี้สามารถแยกได้เป็นสองกลุ่มคือกระบือป่า และกระบือบ้านสำหรับกระบือบ้านนั้นก็แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือกระบือปลัก (swamp bufffalo) กระบือแม่น้ำ (river buffalo) กระบือทั้งสองชนิดจะอยู่ใน Family และ Genus เดียวกันคือ bubalus bubalis แต่ก็มีความแตกต่างกันทางสรีระวิทยา รูปร่าง และผลผลิตต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน จากการศึกษาทางด้านชีวภาพโมเลกุลพบว่ากระบือปลักมีจำนวนโครโมโซม 24 คู่ ส่วนกระบือแม่น้ำจะจำนวนโครโมโซม 25 คู่ และสามารถผสมข้ามพันธุ์ระหว่างทั้งสองชนิดนี้ได้

กระบือ หรือควายปลัก
กระบือปลักชนิดนี้จะเลี้ยงกันในประเทศต่างๆ ทางตะวันออกไกล ซึ่งได้แก่ ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาวเป็นต้น แต่เดิมในสมัยก่อนที่ยังไม่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม กระบือชนิดนี้จะเลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในไร่นา เพื่อปลูกข้าวและทำไร่ และเมื่อกระบืออายุมากขึ้นก็จะส่งเข้าโรงฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร

สำหรับลักษณะทั่วไปของกระบือปลักไทยส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักกันอยู่แล้ว กระบือชนิดนี้ จะชอบนอนแช่ปลัก มีรูปร่างล่ำสัน ผิวหนังมีสีเทาเข้มเกือบดำอาจมีสีขาวเผือก มีขนเล็กน้อย ลำตัวหนาลึก ท้องใหญ่ หัวยาวแคบ เขามีลักษณะแบบโค้งไปข้างหลัง หน้าสั้น หน้าผากแบบราบ ตานูนเด่นชัด ช่วงระหว่างรูจมูกทั้งสองข้างกว้าง คอยาวและบริเวณใต้คอจะมีขนขาวเป็นรูปตัววี (chevlon) หัวไหล่และอกนูนเห็นชัด
   
กระบือ หรือควายแม่น้ำ
กระบือชนิดนี้พบในประเทศ อินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ประเทศในยุโรปตอนใต้และยุโรปตะวันออก เป็นกระบือที่ให้นมมากและมีลักษณะเป็นกระบือนมเลี้ยงไว้เพื่อรีดนม กระบือประเภทนี้จะไม่ชอบลงแช่โคลน แต่จะชอบน้ำสะอาด กระบือแม่น้ำจะมีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์มูร่าห์ พันธุ์นิลิ ราวี พันธุ์เมซานี พันธุ์เซอติ และพันธุ์เมดิเตอเรเนียน เป็นต้น กระบือประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่ รูปร่างแข็งแรง ลักษณะทั่วไปจะมีผิวหนังสีดำ หัวสั้น หน้าผากนูน เขาสั้น และบิดม้วนงอ ส่วนลำตัวจะลึกมาก มีขนาดเต้านมใหญ่กว่ากระบือปลัก

โอกาสและข้อได้เปรียบของการเลี้ยงกระบือ หรือควาย

โอกาสและข้อได้เปรียบของการเลี้ยงกระบือ หรือควาย
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh0unrOQJ_t93UKng1IeVJvPMOK0vmBsI7wVIxpSLTEp_-vF03yGEdwoa1Nu8TazLy7-yUdUUJp_e9uVOUPzh5mUasugdmvkbiivmiKKMItTvykRiRlsxT2ZtA9DiZKrX_UQc11hG3r3aNU/s1600/Buffalo58.jpg

กระบือสามารถเลี้ยงในที่ลุ่มได้ เนื่องจากกระบือมีระบบย่อยอาหารที่ยาวกว่าโคและมีจุรินทรีย์ชนิดที่โคไม่มี ดังนั้นกระบือจึงสามารถใช้ประโยชน์อาหารหยาบที่คุณภาพต่ำซึ่งอยู่ในที่ลุ่ม เปลี่ยนเป็นเนื้อได้ดีกว่าโค แต่กระบือเป็นสัตว์ไม่ทนร้อนจึงชอบนอนปลักทำให้แปลงหญ้าเกิดความเสียหาย การเลี้ยงกระบือในรูปฟาร์มจึงเป็นไปได้ยาก

กระบือ หรือควายจะใช้ประโยชน์จากหญ้าธรรมชาติ หญ้าที่เป็นวัชพืชฟางข้าวและสามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อได้ดีกระบือโตเร็วและมี ไขมันน้อย กระบือจะมีน้ำหนักมากกว่าโคพันธุ์เมื่ออายุเท่ากันแต่กระบือจะเลี้ยงง่ายและ ต้นทุนต่ำกว่าและให้เนื้อมากกว่า และเนื้อกระบือมีไขมันต่ำจึงเหมาะในการบริโภคมากกว่าโค แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงกระบือ ขุนแบบโคขุนจะต้องลงทุนสูงและผลที่ได้จะไม่คุ้มทางเศรษฐกิจ
   
กระบือหรือควายสามารถใช้แรงงานในไร่นาและลากเกวียนได้ดีกว่าโคโดยทั่วไป กระบือไถนาได้วันละ 4 ถึง 6 ชั่วโมง หรือประมาณครึ่งไร่ถึงหนี่งไร่การใช้กระบือไถนาจะเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าใช้ รถไถนาขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังจะได้ปุ๋ยจากมูลใส่ไร่นาอีกด้วย ประมาณได้ว่ากระบือหนึ่งตัวให้มูลเป็นปุ๋ยได้ถึงปีละหนึ่งถึงสองตัน ทำให้เกษตรกรสามารถประหยัดค่าปุ๋ยลงได้จำนวนหนึ่ง ปัจจุบันมูลกระบือสามารถขายได้ราคาหากเลี้ยงกระบือหลายตัวก็อาจมีรายได้จาก การขายมูลกระบือได้อีกด้วย 

ปัญหาการเลี้ยง กระบือ หรือควายของเกษตรกร

ปัญหาการเลี้ยง กระบือ หรือควายของเกษตรกร

http://ibic.lib.ku.ac.th/ibicth/images/stories/bufpic1.gif
เกษตรกรไม่สนใจแม่กระบือที่เลี้ยงว่าจะ ได้รับผสมพันธุ์หรือไม่เนื่องจากเกษตรกรเลี้ยงกระบือรายละไม่กี่แม่ การเลี้ยงพ่อกระบือไว้เพื่อใช้ผสมพันธุ์ในฝูงของตนเองมีภาระค่อนข้างมากจึง ไม่เลี้ยงไว้แต่จะปล่อยกระบือไปเลี้ยงรวมกันอยู่ตามทุ่งนาหลังเก็บเกี่ยว หรือที่ว่างเพื่อใช้ประโยชน์สาธารณะ เมื่อกระบือเป็นสัดก็จะผสมกระบือที่เลี้ยงปล่อยอยู่ในฝูง ซึ่งกระบือเพศผู้ดังกล่าวมักจะมีขนาดเล็กและแพร่กระจายลักษณะที่ไม่ต้องการ กระจายไปในฝูงผสมพันธุ์ การที่กระบือมีขนาดและน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ลดลง อัตราการตกลูกต่ำเนื่องจากปัญหาการผสมพันธุ์และการไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร ของเกษตรกรเองมาเป็นเวลานาน เช่นการปล่อยให้กระบือพ่อลูกผสมกันเองจนทำให้เกิดเลือดชิดหรือการตอนกระบือ เพศผู้ตัวใหญ่เพื่อให้ง่ายต่อการด ูและการขายได้ราคาโดยไม่มีการคัดเลือกกระบือตัวใหญ่หรือโตเร็วเก็บไว้เป็น พ่อ-แม่พันธุ์ ทำให้ผลผลิตกระบือไม่เพียงพอต่อการบริโภค

ปัญหาอีกประการหนึ่งคือการลดจำนวนลง อย่างรวดเร็วของประชากรกระบือในประเทศ ซึ่งจากสถิติของกรมปศุสัตว์ ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจากสถิติของกรมปศุสัตว์ ในช่วงระยะเวลา 2.3 ล้านตัว (กรมปศุสัตว์,2540) โดยมีอัตราการลดจำนวนลดจำนวนลงของกระบือร้อยละ 2.94 ต่อปี (ศักดิ์สงวน, 2540) สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากระบือถูกนำไปฆ่าเพื่อการบริโภคมากกว่าการผลิต การฆ่ากระบือเพื่อบริโภคเนื้ออย่างผิดกฎหมาย มีการนำกระบือเพศเมียและกระบือท้องส่งเข้าโรงฆ่าชำแหละซาก จะเห็นได้ว่าจำนวนกระบือที่ส่งเข้าโรงฆ่าสัตว์อย่างถูกกฎหมาย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี เกษตรกรรายย่อยเลิกเลี้ยงกระบือเพื่อใช้แรงโดยการนำเอารถไถนาขนาดเล็กมาใช้ งานแทน การขาดแคลนแรงงานเลี้ยงกระบือหรือไม่มีที่ดินที่จะเลี้ยงกระบือ นอกจากนี้ปัญหาลูกกระบือในฝูงของเกษตรกรมีอัตราการตายก่อนหย่านมสูงมาก ประมาณ 20-30 % ตายจากโรคพยาธิภายใน เกษตรกรไม่สนใจในด้านสุขภาพของกระบือ เช่นไม่มีการทำวัคซีนป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่องใน ส่วนของการพัฒนาด้วนวิชาการการเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์กระบือซึ่งเป็น หน้าที่ของภาครัฐก็ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวิชาการซึ่งได้มีการดำเนินการมา มากและเป็นเวลานานพอสมควร แต่การนำผลงานไปถ่ายทอดและพัฒนาการเลี้ยงกระบือให้แก่เกษตรกรก็ยังไม่มีรูป แบบที่แน่นอน ถูกต้องและชัดเจน เกษตรกรรายย่อยจะขาดแคลนกระบือที่จะใช้แรงงาน ในการทำไร่นา และผลิตลูก เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญและตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะการเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้าน ไม่มีการลุงทุน การเลี้ยงกระบือที่ให้ผลผลิตต่ำไม่สามารถจะมองเห็นผลร้ายแรงในเวลาอันใกล้ ได้ แต่ผลเสียหายจะเกิดขึ้นที่ละน้อยไม่รู้ตัว และเมื่อมีผลผลิตต่ำก็เลิกเลี้ยงไปเลย

ในด้านการส่งเสริมการเลี้ยงกระบือ ที่ภาครัฐดำเนินการ ค่อนข้างจะได้รับความสนใจจากเกษตรกรน้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรไม่เห็นคุณค่าของกระบืออย่างชัดเจนจึงไมให้ความ สำคัญแก่กระบือเท่าที่ควร มีการใช้ประโยชน์ในส่วนของการใช้แรงงานกระบืออยู่บ้างแต่ก็น้อยลงอย่างเห็น ได้ชัดเกษตรกรส่วนใหญ่กลับเปลี่ยนไปใช้แรงงานจากเครื่องจักรแทน กระบือของเกษตรกรส่วนใหญ่จึงถูกปล่อยปละละเลยในด้านการเลี้ยงดู ปล่อยให้หากินเอง ตามทุ่งหญ้าสาธารณะ หรือเดินกินหญ้าตามธรรมชาติข้างทาง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้งานทางด้านส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงกระบือของภาครัฐจึง ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

การเลี้ยงกระบือ หรือควาย Buffalo

การเลี้ยงกระบือ หรือควาย Buffalo

กระบือหรือควาย นับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความสำคัญต่อระดับเกษตรกรรายย่อย ในชนบทอยู่ตลอดมาโดยนับว่าเป็นส่วนหนึ่งในระบบการผลิตการเกษตรที่มีการเพาะ ปลูกเป็นรายได้หลัก นานมาแล้วที่กระบือถูกใช้เป็นแหล่งแรงงานในการเกษตร การใช้มูลเป็นปุ๋ยและเมื่อมีความจำเป็นก็สามารถขายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง ด้วย ในขณะเดียวกันสามารถใช้ผลพลอยได้ในไร่นาซึ่งมีราคาถูกมาใช้เป็นอาหารกระบือ เลี้ยงเพื่อเปลี่ยนให้เป็นเนื้อสัตว์ที่มีราคาสูงได้ จะสังเกตได้ว่ากระบือพื้นเมืองและ.โคที่เลี้ยงด้วยอาหารแบบเดียวกันและอยู่ ในสภาพแวดล้อมเดียวกันนั้น โคจะมีร่างกายผอมในขณะที่กระบือยังคงสภาพเดิม ซึ่งอาจเนื่องจากความแตกต่างทางด้านสัณฐานวิทยาสรีระวิทยา และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทำให้กระบือมีความแตกต่างจากโคและเอื้อ ประโยชน์ในการนำเอาสารอาหารไปเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อได้ดีกว่าโค อย่างไรก็ตามจากข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าการเลี้ยงกระบือ ของเกษตรได้ถูกละเลยจากภาครัฐ และแม้กระทั่งเกษตรกรเองก็นิยมและหันไปเลี้ยงสัตว์พันธุ์ต่างประเทศ การเลี้ยงกระบือของเกษตรกรยังเป็นไปแบบพื้นบ้านไม่มีระบบการผลิตในเชิงธรุ กิจ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการมองข้ามความสำคัญดังกล่าวซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับ ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรเองด้วย  

ในสมัยก่อนประเทศไทยมีการเลี้ยงกระบือกันเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะใน ภาคอีสาน ส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้เพื่อใช้งานและเพื่อนำเนื้อมาบริโภค แต่หลัง จากมีเครื่องจักรเครื่องกลเข้ามาแทนที่ จำนวนกระบือในประเทศไทยก็ลดลงไปมาก บางจังหวัดแทบจะไม่มีกระบือให้เห็นเลย ปัจจุบันนี้น้ำมันมีราคาแพงมาก จึงทำให้เกษตรกรบางรายหันกลับไปใช้กระบือเป็นแรงงานในไร่นาแทนเครื่องจักร มากขึ้น บางหมู่บ้านโดยเฉพาะในภาคอีสานหันกลับมาใช้กระบือเป็นแรงงานในการทำนา ผลพลอยได้ก็คือ ได้เนื้อกระบือมาบริโภค การจัดการเลี้ยงดูกระบือไม่ยุ่ง ยากเหมือนโค เนื่องจากกระบือเลี้ยงง่าย ทนโรค กินอาหารได้เกือบทุกชนิด การเลี้ยงกระบือจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เกษตรกรควรให้ความสนใจ

ความสำคัญของควายไทย

ความสำคัญของควายไทย

ควายไทยแสนรู้ ประเพณีวิ่งควาย
ควายไทยแฟนซี ควายไทยสวยงาม








2



























ประโยชน์ของการเลี้ยงกระบือ
 
1. แรงงาน (ไถนา, เทียมเกวียน, นวดข้าว)

2. ลดปัญหาราคาเชื้อเพลิงสำหรับเกษตรกร

3. ให้ผลผลิต นม, เนื้อ, หนัง, เขา, กระดูก

4. ได้มูลใช้เป็นปุ๋ยในไร่นา

5. มีรายได้จากการขายปุ๋ย

6. เป็นทรัพย์สินของเกษตรกร

7. ช่วยให้เกิดระบบเกษตรผสมผสาน
 

 
รูปแบบการใช้ประโยชน์
 
ควายไถนา ควายเทียมเกวียน
   
   
การแข่งขันวิ่งควาย การแข่งขันควายชน
   
 

 
การใช้ประโยชน์จากมูลควาย
 



เปรียบเทียบการใช้งานระหว่างควายกับรถไถเดินตาม
 
 

 
** ควาย 1 ตัว สามารถผลิตปุ๋ยคอกได้ถึง 2 ตันต่อปี ราคาจำหน่าย 1.5 บาท/กิโลกรัม