Saturday, December 8, 2012

การใช้ประโยชน์ ควาย



1. แรงงาน (Draff power)

ควายเป็นแรงงานที่มีราคาถูกกว่ารถไถขนาดเล็ก ในการไถนา เสียค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูไม่มาก โดยทั่วๆไปเกษตรกรใช้ควายทั้งเพศผู้ เพศเมียในการทำงาน เมื่ออายุ 3 ปี เริ่มฝึกสอนให้ทำงาน และเมื่ออายุ 4 ปีขึ้นไป จึงเริ่มใช้งานจริงใช้ไถนาวันละ 4-6 ชม. ได้งานวันละครึ่งไร่ถึง 1 ไร่ การใช้ควายไถนาไม่ทำให้ดินแน่น และสามารถเดินได้ดีในที่มีน้ำขัง

2. น้ำนม(Milk)

น้ำ นมที่ได้จากควายจะมีปริมาณไขมันสูง โปรตีนในน้ำนมมีปริมาณเคซีนสูงกว่าอัลบูมิน และโกลบูลิน มากกว่าในน้ำนมวัวเล็กน้อย มีฟอสฟอรัสเป็น 2 เท่าของน้ำนมวัว น้ำนมเป็นสีขาว ไวตามินเอสูง เช่นเดียวกับน้ำนมวัว
ผลิตภัณฑ์จากน้ำนม ควาย ได้แก่ เนย(butter) น้ำมันเนย(butter oil) เนยแข็ง(soft, hard cheese) นมข้น นมระเหยน้ำ ไอศกรีม โยเกิร์ต และ butter milk เป็นต้น เนยแข็งจากน้ำนมควายนั้นจะมีสีขาว ใช้น้ำนมดิบในการผลิตน้อยกว่าน้ำนมวัว เนื่องจากมีปริมาณไขมันสูงกว่า จึงเป็นที่นิยมบริโภคในหลายประเทศ ซึ่งชื่อเรียกก็จะแตกต่างกันไป เช่น mozzarella, ricotta, salty cheese เป็นต้น แต่ควายปลักจะให้ปริมาณน้ำนมน้อยกว่าควายแม่น้ำ โดยควายปลักจะให้ปริมาณน้ำนมเฉลี่ยประมาณ 1 ลิตร/วัน ควายแม่น้ำให้ปริมาณน้ำนมกว่า 5 ลิตร/วัน

3. เนื้อ(Meat)

เนื้อ ควายมีความแตกต่างจากเ้นื้อวัว คือ มีสีเข้มกว่า ไขมันมีสีขาว กล้ามเนื้อมีไขมันแทรกน้อยกว่า(2-3% marbling) เส้นใยกล้ามเนื้อ(muscle) ของควายหนากว่า เปอร์เซ็นต์ซากโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 42-49 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ขึ้นกับความอ้วนของสัตว์ ถ้าผ่านการขุนอย่างดี อาจได้เปอร์เซ็นต์ซากถึง 53 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว

4. ได้มูลเป็นปุ๋ย

ควาย ขนาดใหญ่ให้มูลเป็นปุ๋ยในไร่นาประมาณปีละ 2-3 ตันต่อตัว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในไร่นาได้ และสามารถจำหน่ายไปเป็นปุ๋ยเป็นรายได้เสริม หรืออาจนำไปใช้ผลิตเป็นแก๊สชีวภาพได้อีกด้วย

5. ประโยชน์จากพื้นที่ลุ่ม

ควายสามารถเปลี่ยนอาหารคุณภาพต่ำและวัชพืชมาเป็นเนื้อได้ดี ประหยัดค่าอาหารในการเลี้ยง

6. เป็นทรัพย์สินของเกษตรกร


เลี้ยงไว้ใช้งานแล้วยังสามารถไว้ขายในยามที่เกษตรกรขาดแคลนทุนทรัพย์


สถิติจำนวนกระบือในประเทศไทยแสดงตามภาคต่างๆ

สถิติจำนวนกระบือในประเทศไทยแสดงตามภาคต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2554
Statistics of Buffalo in Thailand (2000-2011)
ปี พ.ศ.
Year  
 ภาคกลาง
Central Part
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Nort-Eastern Part 
 ภาคเหนือ
Northern Part
ภาคใต้
Southern Part 
 รวมทั่วประเทศ
Total
 2543(2000)
 98,968
 1,406,442
 151,829
 44,984
 1,702,223
 2544(2001)
 104,415
 1,413,697
 149,856
 42,127
 1,710,095
 2545(2002)
 102,263
 1,317,540
 163,953
 33,602
 1,617,358
 2546(2003)
 114,562
 1,316,530
 168,526
 33,088
 1,632,706
 2547(2004)
 97,573
 1,215,531
 153,211
 27,923
 1,494,238
 2548(2005)
 130,609
 1,241,766
 220,610
 31,934
 1,624,919
 2549(2006)
 100,818
 1,046,678
 171,742
 32,613
 1,351,851
 2550(2007)
 129,866
1,175,826
 225,970 
 46,136
 1,577,798
 2551(2008)
  112,133
 1,010,913
 205,815
 30,946
 1,359,807
 2552(2009)
 112,789
1,022,639
 224,379
 28,878
 1,388,685
 2553(2010)
  96,379
 878,350
 187,626
 28,531
 1,190,886
 2554(2011)
97,319
901,630
202,352
32,878
 1,234,179

ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด
Source : Provincial Livestock office
รวบรวมโดย : กลุ่มสารสนเทศ และข้อมูลสถิติ ศูนย์สารสนเทศ กรมปศุสัตว์ โทร. 0-2653-4925
Collected By : Information technology and statistics Group, IT Center, Department of Livestock Development. Tel. 0-2653-4925 

การจำแนก ควาย


ควายแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. ควายเอเชีย (Asiatic Water Buffalo-Bubalus bubalis)
1.1 ควายปลัก (Swamp Buffalo)
1.2 ควายแม่น้ำ (River Buffalo)
2. ควายแอฟริกา (Africa buffalo-Syncerus Caffer)
3. ควายแคระ (Anoas-Anoa)

        
 1. ควายเอเชีย (Asiatic Water-Bubalus bubalis)

 โดยทั่วๆไปแล้ว สามารถแบ่งควายได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.1 ควายแม่น้ำ (River or Riverine buffalo)
บาง ครั้งเรียก "ควายแขก" เพราะมีการเลี้ยงควายชนิดนี้มากในประเทศอินเดียและปากีสถาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Bubalus bubalis จำนวนโครโมโซม 2n=50 ควายแม่น้ำจัดได้ว่าเป็นควายนม เนื่องจากมีขนาดเต้าใหญ่ และให้น้ำนมประมาณ 5 ลิตร/วัน

ลักษณะทั่วไป ข้อมีผิวหนังค่อนข้างดำ ขนยาว โครงสร้างใหญ่ เหนียงที่หน้าอกยาน ปลอกหุ้มลึงค์หย่อนยาวเหมือนโคซีบู
ควายแม่น้ำแบ่งเป็นกลุ่มได้ 5 กลุ่ม ดังนี้ (NRC, 1981)
- กลุ่ม Murrah มีพันธุ์ Murrah, Nili/Ravi, Kundi
- กลุ่ม Gujarat มีพันธุ์ Surti, Mehsana, Jafarabadi
- กลุ่ม Uttar Pradesh มีพันธุ์ Bhadawari, Tarai
- กลุ่ม Central Idian มีพันธุ์ Nagpuri, Pandharpuri, Manda, Jerangi, Kalahandi, Sambalpur
- กลุ่ม South Indian มีพันธุ์ Toda, South Kanara 
1.2 ควายปลัก (Swamp buffalo)
มี ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Bubalus bubalis เช่นเดียวกับความแม่น้ำ จำนวโครโมโซม 2n=48 ควายปลักมีการเลี้ยงกันมากในประเทศจีนตอนใต้ ประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ และออสเตรเลีย ควายไทยจัดเป็นประเภทควายปลัก เลี้ยงเพื่อใช้แรงงานและใช้เนื้อ

ลักษณะทั่วไปของควายปลัก มีดังนี้
2.1 รูปร่างหน้าตา
ควาย มีรูปร่างอ้วนเตี้ย ลำตัวสั้น ท้องกางกลม ขาสั้น ส่วนหัวมีเขากางยาว ปลายโค้งงอไปด้านหลัง หน้าผากเรียบรี หน้าสั้นคอยาว ตัวผู้มีหนอก(wither) ที่เหนือหัวไหล่หรืออาจเรียกว่า ขึ้นเปลี่ยว คือ ร่างกายส่วนปั้นหน้าเจริญเต็มที่ ตัวผู้ขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย
2.2 สี
ควาย ไทยมี 2 สี คือ ควายสีดำ และควายสีขาว ซึ่งมักเรียกกันว่า ควายเผือก สีของควายเป็นสีผิวหนังและสีขน แต่ควายปลักมีขนน้อย สีที่แสดงจึงเป็นสีผิวหนังเป็นส่วนใหญ่ ควายมีขนเพียง 25-40 เส้นต่อผิวหนังหนึ่งตารางนิ้ว ลูกควายเกิดใหม่จะมีสีเทา ขนค่อนข้างดกและยาวมีสีน้ำตาลแกมเทา ผิวหนังจะเปลี่นเป็นสีดำภายใน 1-2 สัปดาห์ ลักษณะเด่นของควายดำอีกอย่างหนึ่งคือ มีขนสีขาวรูปตัววี (V. Chevron) ขวางระหว่างส่วนคอกับส่วนอก และมักมีขนาดใหญ่กว่าควายทั่วๆไป ควายสีขาวหรือควายเผือก เป็นควายที่มีสีผิวหนังออกสีชมพูเรื่อ ขนสีขาว บางตัวมีสีดำปน แต่เขา กีบ และตาดำ มีสีดำ จึงไม่จัดเป็นควายเผือกตามหลักการโดยทั่วไป ดังนั้นจึงใช้ White buffalo แต่นักวิชาการบางตนเรียกว่า albinoid buffalo คือมีลักษณะคล้ายเผือก
2.3 ขวัญและเขา
ขวัญ(Hair whorl) เป็นลักษณะทั่วไปในควายไทย อยู่ในตำแหน่งต่างๆของร่างกายตั้งแต่ 1-9 ขวัญ พบมากที่หัว ไหล่ และซอกขา แต่มักไม่พบแถวคอ หน้าอกและหน้าแง
เขา โดยทั่วไปมีโคนขนาดใหญ่ ปลาเรียวแหลมขึ้นไปข้างหลัง โค้งงอคล้ายวงพระจันทร์ เขาควายมีลักษณะแบน สันเขาด้านนอกหนา ด้านในบาง มองดูด้านตัดของเขาควายจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม ที่ส่วนแบนของเขาควายอายุมากจะมีร่องและสันขึ้นสลับกันหลายสัน ใช้เป็นตัวบอกอายุควายอย่างคร่าวๆได้ โดย 1 สันเท่ากับ 1 ปี
2.4 ฟัน
ควาย มีฟันบน 12 ซี่เป็นฟันกราม ไม่มีฟันหน้า และฟันล่ามี 20 ซี่ ซึ่งประกอบด้วยฟันหน้า 8 ซี่ และฟันกราม 12 ซี่(กรามหน้า 6 ซี่, กรามใน 6 ซี่) นอกจากนี้ฟันยังสามารถใช้ประกอบในการประมาณอายุของควายได้ โดยดูจากการขึ้นและการหักของฟันน้ำนม การสึกของฟันแท้ ดังนี้
ฟันน้ำนมหน้า คู่ที่ 1 ขึ้น เมื่ออายุแรกเกิด-1 สัปดาห์
ฟันน้ำนมหน้า คู่ที่ 2 ขึ้น เมื่ออายุ 2 สัปดาห์
ฟันน้ำนมหน้า คู่ที่ 3 ขึ้น เมื่ออายุ 3 สัปดาห์
ฟันน้ำนมหน้า คู่ที่ 4 ขึ้น เมื่ออายุ 3-4 สัปดาห์
ฟันน้ำนม คู่ที่ 1 หลุดเมื่ออายุ 2 ปี และฟันแท้คู่ที่ 1 ขึ้นแทนเมื่ออายุ 2 ปีครึ่ง-3 ปี
ฟันน้ำนม คู่ที่ 2 หลุดเมื่ออายุ 3 ปี และฟันแท้คู่ที่ 2 ขึ้นแทนเมื่ออายุ 3 ปีครึ่ง-4 ปี
ฟันน้ำนม คู่ที่ 3 หลุดเมื่ออายุ 4 ปี และฟันแท้คู่ที่ 3 ขึ้นแทนเมื่ออายุ 4 ปีครึ่ง-5 ปี
ฟันน้ำนม คู่ที่ 4 หลุดเมื่ออายุ 4 ปีิครึ่ง และฟันแท้คู่ที่ 4 ขึ้นแทนเมื่ออายุ 5 ปี-5 ปีครึ่ง
การประมาณอายุควายหลังจากนี้ไป อาศัยดูรอยศึกของฟันแท้คู่ต่างๆตามลำดับ และเวลาการขึ้นช้า-ขึ้นเร็วของฟันแต่ละคู่

2.5 อารมณ์และพฤติกรรม

ควาย เป็นสัตว์ที่เชื่องและอ่อนโยน ถ้านำมาเลี้ยงแบบใกล้ชิด สามารถฝึกไว้ใช้งานและจูงไปไ้ด้ แต่ึควายที่เลี้ยงเป็นฝูงจะปราดเปรียว จับและควบคุมได้ยากกว่าควายตามบ้าน ควายเป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณในการต่อสู้ป้องกันตัวสูงในภาวะที่มีภัยถึงตัว ควายจะชอบนอนแช่ปลัก โดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศร้อน ถ้าไม่มีปลักให้แช่ แต่มีน้ำ ควายมักสร้างปลักเอง โดยลงนอนเกลือกกลิ้งในบริเวณที่มีน้ำแฉะๆจนเกิดเป็นแอ่ง และลักษณะการกินหญ้าของควาย จะกินหญ้าไม่เลือกและจะเล็มกินถึงโคน ทำให้เกิดปัญหาหญ้าตายเป็นหย่อมๆได้ และควายมักจะสร้างปลักในทุ่งนา

        
2. ควายแอฟริกา (Africa buffalo-Syncerus Caffer)

3. ควายแคระ (Anoas-Anoa)

ควายในประเทศไทย

พันธุ์ควายในประเทศไทย

1. ควายไทย(ควายปลัก)
2. ควายมูร่าห์(ควายแม่น้ำ)
3. ควายลูกผสมระหว่างควายไทยกับควายมูร่าห์

1. ควายไทย(ควายปลัก)
ควาย ไทยเป็นประเภทควายปลัก เป็นสัตว์ใช้แรงงาน มีลักษณะรูปร่างล่ำสัน ขนสีเทาดำ หรือสีเทาเข้ม เขาโค้งเป็นวงกว้่าง มีขนสีขาวรูปตัววี(V)ที่คอ เท้าทั้งสี่ข้างด่าง ชอบนอนแช่ปลักโคลน มีความแข็งแรงอดทน


2. ควายพันธุ์มูร่าห์(Murrah)

เป็น ควายแม่น้ำที่ใช้ประโยชน์จากการรีดนม อาจเรียกว่า "ควายนม" มีแหล่งกำเนิดจากประเทศอินเดีย มีลักษณะทั่วไปคือ ตัวใหญ่ สีดำ หน้าผากนูน เขาม้วนงอ สั้น เต้านมเจริญดี ให้น้ำนมเฉลี่ย 2,000 ก.ก. ต่อ 9-10 เดือน ของช่วงการให้นม ตัวผู้หนักประมาณ 550 ก.ก. ตัวเมียหนักประมาณ 450 ก.ก. ลูกควายแรกเกิดหนักประมาณ 30-35 ก.ก. ควายมูร่าห์ชอบน้ำสะอาด ไม่ชอบลงโคลน

3. ควายลูกผสม

ควาย ลูกผสมระหว่างควายไทยกับควายมูร่าห์ เป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างควายปลักและควายแม่น้ำ ลูกผสมที่ได้มีลักษณะของทั้งสองพันธุ์ผสมกัน คือ เขาไม่ม้วนขดมากเหมือนพันธุ์แท้ แต่โค้งออกข้างและชี้ขึ้นบน หรือบิดเล็กน้อย ผิวหนังมีจุดสีดำ(dark pigmentation) หัวมีลักษณะไปทางกระบือแม่น้ำ แต่หน้าผากไม่นูนเด่นมาก เต้านมเจริญดีกว่าควายปลัก ใช้งานได้ดีเช่นเดียวกับควายไทย ตัวผู้หนักประมาณ 730-800 ก.ก. ตัวเมียหนักประมาณ 630-650 ก.ก. จำนวนโครโมโซมมี 2n=49 อาจมีปัญหาในด้านการแบ่งจำนวนโครโมโซมในเซลล์สืบพันธุ์(gamete) และด้านการรวมตัวของเซลล์สืบพันธุ์ อาจทำให้มีสารพันธุกรรม(gene material) เกินหรือขาดได้ และมีผลต่ออัตราการผสมติด(วิวัฒน์ ชวนะนิกุล, 1987)



ควายแม่น้ำ


ควาย หรือ กระบือ จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดกับงานเกษตรกรรมของประเทศทางเอเซียมากที่สุด เพราะ ชาวนานิยมเลี้ยงควายเป็นแรงงานเพื่อไว้ไถนา บ้างก็ใช้ควายเป็นพาหนะ ในการเข้าไปทำไร่ทำนา ในประวัติศาสตร์ชาติไทย นายทองเหม็นแห่งหมู่บ้านบางระจันก็ขี่ควายออกไปรบ บ้างก็ฆ่าควายเพื่อกินเนื้อเป็นอาหาร ควายจึงมีประโยชน์หลายประการ ปัจจุบันมีการใช้งานควายน้อยลง เพราะนิยมใช้รถไถแทน
ควายเป็นสัตว์มีสี่ขา เท้าเป็นกีบ ตัวขนาดใกล้เคียงกับวัวโต เต็มวัยเมื่ออายุระหว่าง 5-8 ปี น้ำหนักตัวผู้โตเต็มวัยโดยเฉลี่ย 520-560 กิโลกรัม ตัวเมียเฉลี่ยประมาณ 360-440 กิโลกรัม ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย มีผิวสีเทาถึงดำ (บางตัวมีสีชมพู เรียกว่า ควายเผือก) มีเขาเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัว ปลายเขาโค้งเป็นวงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว
ควายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลูกควายจะกินนมแม่จนอายุประมาณ 1 ปี 6 เดือน ควายจะเจริญเติบโตใช้แรงงานได้ระหว่างอายุ 2.5-3 ปี ช่วงที่ใช้งานได้เต็มที่ คือระหว่างอายุ 6-9 ปี ควายแต่ละตัวจะใช้งานได้จนอายุย่างเข้า 20 ปี อายุควายโดยทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 25 ปี
สายพันธุ์
แยกได้เป็นสองกลุ่มคือควายป่า และควายบ้าน และควายบ้านนั้นก็แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ ควายปลัก (Swamp buffalo) ควายแม่น้ำ (River buffalo) ทั้งสองชนิดจัดอยู่ในวงศ์ และสกุล เดียวกันคือ Bubalus bubalis แต่ก็มีความแตกต่างกันทางสรีระวิทยา รูปร่าง อย่างเห็นได้ชัดเจน จากการศึกษาทางด้านชีวภาพโมเลกุลพบว่า ควายปลักมีจำนวนโครโมโซม 24 คู่ ส่วนควายแม่น้ำจะจำนวนโครโมโซม 25 คู่ และสามารถผสมข้ามพันธุ์ระหว่างทั้งสองชนิดนี้ได้ 

ควายปลัก
เลี้ยงกันในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนิเซีย  เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว เลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในไร่นา เพื่อปลูกข้าวและทำไร่ และเมื่อกระบืออายุมากขึ้นก็จะส่งเข้าโรงฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร ชอบนอนแช่ปลัก มีรูปร่างล่ำสัน ผิวหนังมีสีเทาเข้มเกือบดำอาจมีสีขาวเผือก มีขนเล็กน้อย ลำตัวหนาลึก ท้องใหญ่ หัวยาวแคบ เขามีลักษณะแบบโค้งไปข้างหลัง หน้าสั้น หน้าผากแบบราบ ตานูนเด่นชัด ช่วงระหว่างรูจมูกทั้งสองข้างกว้าง คอยาวและบริเวณใต้คอจะมีขนขาวเป็นรูปตัววี (chevlon) หัวไหล่และอกนูนเห็นชัดเจน
ควายแม่น้ำ
พบในประเทศอินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ประเทศในยุโรปตอนใต้และยุโรปตะวันออก ให้นมมากและเลี้ยงไว้เพื่อรีดนม ไม่ชอบลงแช่โคลน แต่จะชอบน้ำสะอาด มีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์มูรร่าห์ นิลิ ราวี เมซานี เซอติ และเมดิเตอเรเนียน เป็นต้น กระบือประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่ รูปร่างแข็งแรง ลักษณะทั่วไปจะมีผิวหนังสีดำ หัวสั้น หน้าผากนูน เขาสั้น และบิดม้วนงอ ส่วนลำตัวจะลึกมาก มีขนาดเต้านมใหญ่

ควาย หรือ กระบือ

    ควาย หรือ กระบือ      
         
           “ควายเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง   ที่มีความผูกพันธ์กับมนุษย์มาแต่สมัยดึกดำบรรพ์ จากหลักฐานภาพเขียนก่อนยุคประวัติศาสตร์ของมนุษย์โบราณ ปรากฏภาพควาย  ปลา และสัตว์ป่าบางชนิด เขียนอยู่ตามถ้ำต่าง ๆ   โดยทั่วไปแสดงให้เห็นว่าควายเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์มาแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ในประเทศไทยเชื่อว่า ควายมี บทบาทสำคัญ เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทย ใช้เป็นแรงงานเพื่อการเกษตร การขนส่งและการคมนาคม แม้แต่ในการสงครามยังใช้ควายเป็นพาหนะในการต่อสู้ข้าศึก เช่น การต่อสู้ของชาวบ้านบางระจัน
 

          เดิมควายเป็นสัตว์ป่า  เหมือนสัตว์ป่าทั่วไป แต่โดยสัญชาติญาณเป็นสัตว์ที่สามารถฝึกฝน 
ทำให้เชื่องได้    มนุษย์จึงนำมาเลี้ยง ฝึกฝน จนเชื่องและนำมาใช้แรงงาน  จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความรักความผูกพัน ระหว่างมนุษย์กับควายสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
คน ไทยใช้แรงงานจากควาย มาแต่ยุคสร้างอาณาจักรเพราะพื้นที่ในการตั้งอาณาจักรอยู่ในเขตราบลุ่ม อาชีพที่เหมาะสม คือการเกษตร ตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ จึงพูดได้ว่า ควายคือชีวิตของคนไทย
โลกเจริญก้าวหน้า มีวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ สังคมเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสังคมเกษตรในประเทศไทยจากที่เคยใช้ควายไถนา คราดนา ลากเกวียน นวดข้าว เปลี่ยนเป็น เครื่องจักร เครื่องนวดข้าว บทบาทของควายภาคเกษตรหมดลงโดยสิ้นเชิง

ควายมีการเรียกแตกต่างกันไปแต่ละชาติแต่ละภาษา เช่น ภาษาจีนเรียกว่า “สุ่ยหนิว” (Sui Nui) ภาษาฟิลิปปินส์ เรียกว่า คาราบาว” (Carabao) และภาษาไทยเรียกว่า ควาย” (Khway) ภาษามาเลย์เรียกว่า เกรเบา” (Krabao) เป็นต้น
พันธุ์ควายในโลกมี 2 ชนิด คือควายป่า และควายบ้าน ซึ่งสามารถแบ่งควายบ้านออกไปได้อีก 2 ประเภทดังนี้คือ- ควายปลัก (Swamp Buffalo) ประเทศ ต่าง ๆ ในแถบเอเชีย ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย พม่า เวียดนาม กัมพูชา ลาว มีควายปลักเป็นจำนวนมาก ใช้สำหรับทำงานในท้องนาเพื่อปลูกข้าว และลากเข็น   เมื่อกระบือใช้งานไม่ไหวแล้ว ก็จะส่งเข้าโรงฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร
- ควายปลัก   มี ความแข็งแรง มีกีบเท้าใหญ่ เคลื่อนไหวและเจริญเติบโตช้า ไม่ค่อยทนความร้อน จะแสดงอาการทุรนทุรายเมื่อไม่ได้ลงน้ำเป็นเวลานาน ชอบแช่ในโคลนตมเพื่อป้องกันแสงแดดและแมลงรบกวน  ได้แก่ควายอินโดนีเซีย และกระบือไทย เป็นต้น    ควายปลักของไทยมีลักษณะ ขนาด และสี คล้ายควายในพม่า กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซี่งมีสี 2 สี  คือ สีเทาเข้มเกือบดำและอีกสี คือสีเผือก-ผิวหนังสีชมพู

- ควายน้ำหรือควายแม่น้ำ (River Buffalo) พบ ในอินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ยุโรปตอนใต้ ส่วนใหญ่เป็นควายนมมากกว่า ชอบน้ำสะอาด ไม่ชอบลงโคลน ได้แก่ ควายอียิปต์ ควายคอเคเซียน และควายเมดิเตอร์เรเนียน เป็นต้น ควายแม่น้ำเพิ่งเข้ามาสู่ประเทศไทยประมาณสมัยรัชการที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงอยู่ในส่วนราชการ ควายยังไม่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตคนไทยมากนัก

ในช่วงปี พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงริเริ่มโครงการธนาคารกระบือ (Buffalo Bank Project) ขึ้นที่ จ. ปราจีนบุรี และกรมปศุสัตว์รับผิดชอบในการดำเนินการ
ลักษณะทั่วไปของควาย
          1. ขนาด :    ควายจะโตเต็มวัยเมื่ออายุระหว่าง 5-8 ปี น้ำหนักตัวผู้โตเต็มวัยโดยเฉลี่ย 520-560 กิโลกรัม ตัวเมียเฉลี่ยประมาณ 360-440 กิโลกรัม ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย
          2. รูปร่างหน้าตา :  ควายส่วนใหญ่รูปร่างอ้วน เตี้ย พ่วงพี ลำตัวสั้น ท้องกางกลม แข้งขาสั้น เขากางยาว ปลายเขาโค้งเป็นวงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว
          3. สี :  ควายมีอยู่ 2 สี คือควายที่มีขนสีดำกับควายที่มีขนสีขาว โดยทั่วไปควายมีขนสำดำ ส่วนควายขนสีขาวหรือที่เรียกว่าควายเผือก (Albinoid Buffalo) ไม่ค่อยมีหน้าที่ในการเป็นสินค้า หรืออาหาร เพราะชาวนาไม่นิยมซื้อขาย และไม่นิยมฆ่าแกง แต่จะมีประโยชน์ด้านจิตใจมากกว่าควายสีดำ
          4. เขา :   ควายโดยทั่วไปหรือส่วนใหญ่มีเขายาวกางออกสองข้างศีรษะ ปลายเขาโค้งเข้าหากัน ลักษณะ เขาควายส่วนล่างเป็นสี่เหลี่ยมรูปมนผิวขรุขระเป็นปล้อง ส่วนบนกลมเรียวปลายแหลมผิวลื่น ควายบางตัวมีเขาผิดปกติ คือเขาสั้นทู่หรือเขาหลูบห้อยลงสองข้างศีรษะ ขนาดเขาควายโดยปกติยาวประมาณ 60-120 เซนติเมตร
           5. ฟัน :  ควายมีฟันล่าง 20 ซี่ ส่วนฟันบนมีเฉพาะกราม 12 ซี่ ไม่มีฟันหน้า ด้วยเหตุนี้ชาวนาจึงเชื่อว่าควายไม่มีฟันบน
การเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์
ลูกควายจะกินนมแม่จนอายุประมาณ 1.5 ปี ควายจะเจริญเติบโตใช้แรงงานได้ระหว่างอายุ 2.5 - 3 ปี ช่วงที่ใช้งานได้เต็มที่ คือระหว่างอายุ 5-8 ปี ควายแต่ละตัวจะใช้งานได้จนอายุย่างเข้า 20 ปี อายุควายโดยทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 25 ปี (เว้นกรณีพิเศษที่ควายบางตัวอาจมีอายุยืนผิดปกติ)
          ควายตัวผู้สามารถเป็นพ่อพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 2 ปี ส่วนควายตัวเมียสามารถเป็นแม่พันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 3 ปีขึ้นไป ควายจะตั้งท้องช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวซึ่งเป็นฤดูที่อาหารอุดมสมบูรณ์   ควายจะอุ้มท้องประมาณ 10.5 เดือน ก่อนและหลังคลอด 2-3 อาทิตย์ เจ้าของไม่นิยมใช้งานหนัก ปกติควายจะคลอดลูก 2 ตัว ในเวลา 3 ปี
          การเลี้ยง
          โดยมากเลี้ยงเป็นฝูงรวมกัน โดยใช้ตัวผู้ 1 ตัว คุมฝูงตัวเมียได้ประมาณ 25-30 ตัว หากกระบือที่เลี้ยงไว้มีจำนวนมาก ก็จะแบ่งออกเป็นฝูงโดยใช้รั้วกั้น (วิธีแบ่งฝูงกระบือจะแบ่งตาม ฝูงพ่อกระบือ แบ่งเป็นคอก ๆ เพื่อป้องกันการต่อสู้กัน ฝูงแม่กระบือ ฝูงกระบือตัวผู้ที่ยังผสมไม่ได้ และฝูงกระบือตัวเมียที่ยังผสมไม่ได้)
    
          ควายเป็นสัตว์ซึ่งตามภาษาสัตวศาสตร์ เรียกว่า Bos Bubalis มนุษย์รู้จักและเลี้ยงมาช้านานแล้ว   โดย ควายตามลักษณะของวิชาสัตวศาสตร์มีดังนี้ เป็นสัตว์ขนาดหนักโครงร่างใหญ่ ร่างกายหนา ผิวหนังมีสีดำ สีเผือก สีด่าง มีขนเล็กน้อย หัวยาวแคบ มีเขาบนหัว หางสั้นและมีขนที่ปลายหาง กระบือพันธุ์นมที่ดีจะมีเต้านมใหญ่ หัวนมยาว น้ำนมมีสีขาว ไขมันสูงสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง โดยใช้ไถนา ลากของ ลากเกวียน เนื้อเป็นอาหารหนังก็นำมาทำเครื่องหนัง อีกทั้งยังเป็นพาหนะอีกด้วย
                คุณค่าที่ถูกลืม
          ปัจจุบัน คุณค่าของควายเริ่มลดน้อยลงไป โดยเฉพาะทางด้านเกษตรกรรม เพราะมีเครื่องจักรที่ทันสมัยเข้ามาใช้แทน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังมีกลุ่มเกษตรกรบางกลุ่มที่อนุรักษ์และยังคงความนิยมควายมากกว่า เครื่องจักรไม่ว่าเหตุผลใด ๆ ก็แล้วแต่ควายถือเป็นสัตว์ที่มีคุณค่าต่อมนุษย์ไม่ว่าในยุคไหน ๆ ก็ตามที ถึงแม้ปัจจุบันคุณค่าบางส่วนอาจลดลงไปก็ตาม

เอื้อเฟื้อภาพประกอบบางภาพ : คุณปราโมทย์ มณฑามณี
แหล่งอ้างอิง : หนังสือเรื่อง"ควาย"

กระบือ สัตว์มีค่าที่ (เกือบ) ถูกลืม


Zoom ++ Click


กระบือ สัตว์มีค่าที่ (เกือบ) ถูกลืม

สัตว์ ที่มีบุญคุณมหาศาล และมีความสำคัญต่อปากท้องของคนไทยมาเนิ่นน่านกระบือ
หรือที่ในภาษาชาวบ้านเรียกกันว่า ควาย กระบือหรือควายนั้น
มีความสัมพันธ์กับมนุษย์มานานไม่ว่าจะเป็นเรื่องในวรรณคดีหรือประวัติศาสตร์ ไทย อย่างเช่น ภาพยนตร์
เรื่องบางระจันที่นายทองเหม็นขี่กระบือ (ควาย) เข้าต่อสู้กับพม่า
เพื่อป้องกันเอกราชของประเทศไทยจนกระทั่งตัวตายนอกเหนือจากเราจะใช้กระบือ เป็นพาหนะในการรบแล้ว
ก็ยังถูกนำมาใช้กับการเกษตรกรรมอีกด้วย ได้แก่ การไถนา ปลูกข้าว
แต่ปัจจุบันเรามีเครื่องไถเป็นเครื่องจักร ที่ชาวบ้านเรียกว่า ควายเหล็ก
มาใช้กันเพราะมีความสะดวกสบาย รวดเร็ว ดังนั้นกระบือจึงถูกละเลยและมนุษย์ก็ค่อย ๆ
ลืมเลือนถึงคุณค่าตรงจุดนี้ทีละน้อย

ภาพจาก สวนสัตว์เขาเขียว ศรีราชา

อวดรวยครับ กระบือตัวนี้ชื่อว่า "รวย"   กระบือไทยจากปากน้ำโพ นครสวรรค์ 


เจฟ แย่งมุกตู กะจะเอาอีด่างข้างบ้านมาโพสน์ทีเดียว  มันชื่อรวย 

Monday, October 29, 2012

สารคดี ของกระบือ

กระบือหรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า "ควาย" เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ อีกทั้งเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อชีวิตของชาวไร่ชาวนาในชนบทเป็นอย่างยิ่ง ในระบบเกษตร ยังมีชาวไร่ชาวนาอีกเป็นจำนวนมากที่อาศัยแรงงานจากควายในการทำไร่ไถนา และอื่น ๆ มูลใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดินใส่ต้นไม้ได้เป็นอย่างดี ในด้านเศรษฐกิจควายมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะยามขาดแคลนน้ำมัน หลังหมดอายุการใช้งานแล้วยังขายได้เงินอีกด้วย เนื้อที่ขายตามท้องตลาดประมาณครึ่งหนึ่งเป็นเป้าหมาย และยังเป็นสินค้าส่งออกอีกด้วย ในปัจจุบันเครื่องมือการเกษตรเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ควายยังถูกทอดทิ้งทุกขณะ ทำให้จำนวนควายลดน้อยลง ควายเป็นส่วนหนึ่งของระบบเกษตรของเกษตรกร ชาวไร่ชาวนาในชนบทซึ่งส่วนใหญ่จะทำการเกษตรแบบระบบเกษตรรวม มีการปลูกพืชเป็นหลัก ชาวนาชาวไร่จะเลี้ยงวัวควายไว้ใช้งานและอื่น ๆ ซึ่งประโยชน์ของควายมีอีกหลายประการ ดังนี้
-ให้แรงงานสำหรับเกษตรกร ตามส่วน
-ช่วยผ่อนคลายปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิงสำหรับการเกษตร
-ให้ ผลผลิตคือ เนื้อ นม กระดูก หนัง ฯลฯ เพื่อใช้ภายในประเทศและต่างประเทศ
-มี ส่วนช่วยให้ระบบเกษตรของเกษตรกรไทยมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้ฟาง หญ้า และเศษพืชอื่น ๆ ที่มีอยู่ในไร่นาให้เกิดประโยชน์ เป็นผลให้เกิดระบบเกษตรผสมผสานซึ่งมีความมั่นคงถาวรมากกว่า
-เป็นทุน ประกันในยามเกิดสภาวะวิปริต เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม หรือในยามจำเป็นต้องใช้เงินมาก ๆ
-ได้มูลใช้เป็นปุ๋ยในไร่นา ในสภาวะที่ปุ๋ยเคมีมีราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ ชาวไร่ชาวนาหันมาใช้มูลวัวควายมากขึ้น บางรายอาจมีการหมักมูลเพื่อใช้ในการหุงต้ม
-การเลี้ยงวัวควายเป็นงานของ เด็กและคนชรา ทำให้แรงงานที่ว่างในครัวเรือนได้ทำงานมีผลผลิต ไม่สูญเปล่า ไม่เกิดปัญหาทางด้านจิตใจแก่สมาชิกในครอบครัวที่มีฐานภาพต่างกัน นอกจากนั้น คนที่ว่างงานจากการเพาะปลูกก็ได้มีงานทำ
-มีรายได้เสริมจากการขายมูล สัตว์ ลูกที่เกิดใหม่หรือสัตว์ที่ปลดระวางแล้ว
พันธุ์ควาย ควายในโลกที่มีอยู่ประมาณ 130 ล้านตัว ประมาณร้อยละ 97.5 อยู่ในแถบประเทศเอเชีย จึงได้ชื่อว่าสัตว์เอเชีย อย่างไรก็ตามในหลายประเทศในทวีปอื่น ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล รัสเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น ก็มีการเลี้ยงควาย

ควาย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า (Bubalus bubalis) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
ก. ควายแม่น้ำ (River buffalo) บางครั้งเรียกควายแขก เพราะเลี้ยงมากในประเทศอินเดีย ปากีสถานจัดว่าเป็นควายนม แต่ก็ใช้งานได้ให้เนื้อก็ดี ชอบนอนในน้ำลึก น้ำใสหรือในแม่น้ำ ควายประเภทนี้ในประเทศไทยมีอยู่เพียงพันธุ์เดียว คือ พันธุ์มูร์ราห์
ข. ควายปลัก (River buffalo) เป็นควายที่เลี้ยงมากในประเทศจีนตอนใต้ ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย ควายไทยจัดเป็นประเภทควายปลักเลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน ใช้เนื้อบริโภคกันทั่วไป คนนิยมพอ ๆ กับเนื้อวัว ให้นมบ้างวันละ 1-3 ลิตร ควายปลักชอบนอนในปลักโคลนอันเป็นหลุมดินเละ ๆ เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้แล้วเวลาอากาศร้อนชอบลงลอยคอในคูคลองน้ำลึก
การคัดเลือกควาย ลักษณะที่ดี ความเชื่อของชาวบ้านอาจมีความแตกต่างกันจากท้องที่หนึ่งไปยังอีกท้องที่ หนึ่ง ซึ่งพอสรุปลักษณะควายที่ดีในทรรศนะของเกษตรกรภาคอีสาน
ลำตัว ควายดีควรมีลำตัวใหญ่และยาว ขาแข็งแรงทั้ง 4 ขา และได้สัดส่วนเหมาะสมกับลำตัว
ส่วนหัว ควายใช้งานควรมีหน้าค่อนข้างยาว
ตา แจ่มใส เบ้าตาใหญ่และแข็งแรง ไม่มีจุดฝ้าและสีผิดปกติ
จมูก รูจมูกใหญ่ จมูกชุ่มชื้นอยู่เสมอ
เขา นิยมควายเขากรอบหรือเขาโง้ง คล้ายวงพระจันทร์ มีขนาดสวยงาม โคนมเขาใหญ่แข็งแรง ปลายเขาเรียว
คอ อวบใหญ่หนาบึกบึน
ขา โคนขาใหญ่ ค่อย ๆ เรียวลงสู่ปลายเท้าถึงกีบ
กีบ ต้องมีอุ้มกีบใหญ่
อก ใหญ่หรือที่เรียกว่ากะโหลกมะพร้าว
หลัง แบนและกว้าง สันหลังนูนแหลมเป็นสันเป็นลักษณะไม่ดี
ท้อง เหมาะสมกับลำตัว ไม่กางหรือบวมโตจนเกินไป
ผิวหนังบางและอ่อนนุ่ม เชื่อว่าส่อลักษณะว่านอนสอนง่าย แต่บางคนชอบหนังหนาเชื่อว่าเลี้ยงง่าย โตเร็ว
สีผิวหนัง ชอบสีดำมากกว่าสีเทา เชื่อว่าควายดำทำงานทนกว่า
ขน ยาวและดก เชื่อว่าโตเร็ว ทนโรค
หาง คอกยาวเลยข้อขาหลังลงมา ขนหางเป็นพู่ใหญ่ โคนหางใหญ่และเรียวลงสู่ปลายทาง
ฟัน เชื่อว่าควายฟันขาวเติบโตและสุขภาพดีกว่าควายฟันเหลือง
ขวัญ เกษตรกรยังเชื่อเรื่องขวัญมาก ในบางท้องที่จะไม่ยอมซื้อควายที่มีขวัญไม่ดีเข้าบ้าน
ขวัญดี ได้แก่ "ขวัญก้อนชางแก้ว" คือ ขวัญสามเส้าบริเวณหน้า ขวัญหนึ่งบริเวณหน้า สองขวัญอยู่สองด้านของดั้งจมูก "ขวัญกางหบ" อยู่บริเวณหนอก "ขวัญห้อยหิ่ง" อยู่ตรงกลางด้านล่างของคอ "ขวัญอกแตก" อยู่ด้านบนของลำคอ
ขวัญไม่ดี ได้แก่ "ขวัญนั่งทับ" หรือ "ขวัญที่นั่งโจร" อยู่ประมาณด้านหน้าหรือกลางหลัง "ขวัญกระทาบหน้า" อยู่ด้านข้างของลำตัวส่วนหน้า "ขวัญกระทาบหลัง" อยู่สองข้างของสวาบ และ "ขวัญลึงค์จ้ำ" หรือ "ขวัญลึงค์ฟัก" อยู่ด้านหน้าของอวัยวะเพศผู้

การ เลี้ยงดู การเลี้ยงโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงเป็นหลัก คือ

การเลี้ยงแบบพื้น บ้าน เป็นการเลี้ยงควายเพื่อใช้งานเป็นหลัก ผลพลอยได้คือ ควายเนื้อ เมื่อปลดงานแล้ว การเลี้ยงแบบนี้ลงทุนต่ำมาก ใช้อาหารเท่าที่มีในพื้นบ้าน ควายจะมีขนาดใหญ่โตพอใช้งานได้ ตั้งแต่อายุ 3 ปีขึ้นไป ชาวบ้านเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด ควายมีนิสัยเชื่องและสภาพความเป็นอยู่ค่อนข้างดี
การเลี้ยงแบบขุน เป็นระบบเลี้ยงควายเพื่อมุ่งผลิตเนื้อเป็นหลัก แบ่งได้ 2 แบบ
ก. การเลี้ยงขุนแบบพื้นบ้าน เป็นกิจกรรมขนาดเล็กเลี้ยงรายละ 1-3 ตัว ให้อาหารที่หาได้ในท้องถิ่น
ข. การเลี้ยงขุนแบบการค้า เป็นกิจกรรมขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนสูง จะต้องอาศัยตลาดเนื้อที่ให้ราคาดีพอควร ถ้าตลาดต้องการเนื้อมากและให้ราคาดีอาจขุนแบบให้อาหารข้น แต่ถ้าราคาเนื้อดีพอควรก็อาจใช้อาหารหยาบที่ได้จากวัสดุพลอยได้ต่าง ๆ ร่วมกับวัสดุส่วนผสมอื่น ๆ
การเลี้ยงแบบฟาร์มปศุสัตว์ เป็นระบบการเลี้ยงที่ต้องการที่ดินกว้างขวาง มีการลงทุนเกี่ยวกับพื้นที่และโรงเรือน การเลี้ยงแบบนี้มุ่งผลิตลูกควายเพื่อจำหน่ายและผลิตควายเนื้อเป็นหลัก อาหารควาย ควายเป็นสัตว์กระเพาะรวม (Ruminant) เช่นเดียวกับวัว คือมีกระเพาะสี่ช่วงได้แก่ กระเพาะดอกจอก (Reticulum) กระเพาะผ้าขี้ริ้ว (Rumen) กระเพาะสามสิบกลีบ (Omasum) และกระเพาะธรรมดา (Abomasum) ควายมีนิสัยกินหญ้าไม่เลือก กินหญ้าเกือบทุกชนิด กินทั้งหญ้าอ่อนและหญ้าแก่ และกินกิ่งโคน แม้แต่ผักหญ้าที่ขึ้นในคูคลอง เช่น ผักตบ ดอกจอก หญ้ากก ควายก็ลงไปกินได้
การเลี้ยงควายของชาวบ้านได้อาหารจาก 2 แหล่งใหญ่ คือ
1. ผลพลอยได้หรือสิ่งเหลือทิ้งจากการกสิกรรม โดยเฉพาะฟางข้าวจากการทำนา
2. พืชอาหารสัตว์และวัชพืชที่ขึ้นอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป เช่น ตามคันนา หัวไร่ปลายนา สองข้างถนนและตามที่รกร้างว่างเปล่า
ผลพลอยได้หรือสิ่ง เหลือทิ้งจากการกสิกรรม
ผลพลอยได้จากการเพาะปลูกมีอยู่มากมาย เช่น ฟางข้าว ยอดอ้อย ใบมันสำปะหลัง ใบยอ ซังข้าวโพด ต้นถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฯลฯ ซึ่งเป็นเพียงบางตัวอย่างที่เป็นผลพลอยได้จากการเพาะปลูกที่เหลือทิ้งเป็น อันมาก อันสามารถนำมาใช้เป็นอาหารควายได้อย่างดี ราคาถูกหรือไม่ต้องซื้อหา การหันมาใช้วัสดุเหล่านี้เป็นอาหารสัตว์อย่างจริงจังจะช่วยลดต้นทุนการ เลี้ยงสัตว์
การใช้ผลพลอยได้จากการเกษตรเป็นอาหารสัตว์มีข้อดีดังนี้
-ใช้ ประโยชน์วัสดุที่มีอยู่แล้ว
-เป็นวัสดุที่มีราคาถูกหรือไม่ต้องซื้อหาใน ไร่นา
-เนื่องจากพืชอาหารสัตว์ในเขตร้อนมีคุณภาพต่ำ
-ใช้เป็นอาหาร เสริม
-ไม่ต้องอาศัยแหล่งอาหารสัตว์จากภายนอก
-แก้ไขการขาดแคลน อาหารสัตว์ในฤดูที่ขาดแคลน
-ใช้ในการขุนสัตว์ในคอกได้สะดวก
พืช อาหารสัตว์และวัชพืชต่าง ๆ
พืชอาหารสัตว์ ได้แก่ พืชประเภทหญ้าและถั่วเป็นส่วนใหญ่ที่ปลูกไว้เป็นอาหารสัตว์ เช่น หญ้าขน หญ้ากินี หญ้าเนเปียร์ หญ้าแพรก และหญ้าอื่น ๆ อีกบางชนิด ตลอดจนหญ้าพื้นเมือง พืชจำพวกถั่ว ได้แก่ ถั่วฮามาต้า ถั่วชีราโตร ถั่วเซ็นโตรซีมา ถั่วลิสงนา ถั่วผี เป็นต้น นอกจากพืชอาหารสัตว์โดยเฉพาะแล้ว พืชพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ ที่ขึ้นอยู่ทั่ว ๆ ไปตามคันนา หัวไร่ปลายนา ที่รกร้าง ป่าสงวน ทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะก็ใช้เลี้ยงควายได้ ผักตบชวา ต้นหญ้าน้ำชนิดต่าง ๆ แม้แต่ใบสาบเสือ ควายก็กินได้ในยามขาดแคลนจริง ๆ
อย่างไรก็ดี พืชต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วซึ่งขึ้นอยู่ในภูมิประเทศแถบร้อน เช่น ประเทศไทยมักมีคุณภาพต่ำ มีองค์ประกอบที่เป็นโปรตีนต่ำ ส่วนใหญ่มีไม่เกิน 3-6 เปอร์เซ็นต์ ต่อหน่วย น้ำหนักแห้ง ถ้ามีโปรตีนถึง 7 เปอร์เซ็นต์ถือว่ามีคุณภาพดี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าหญ้านั้นมีอายุแก่อ่อนเพียงใด ปลูกโดยใส่ปุ๋ยหรือไม่
สัตว์ที่ได้รับอาหารที่เป็นพืชคุณภาพต่ำเป็นเวลา นาน ๆ อาจสูญเสียความเจริญอาหารกินอาหารได้น้อย น้ำหนักตัวลด มีอัตราการตกลูกต่ำและอ่อนแอต่อโรค จึงสมควรให้อาหารอย่างอื่นเสริมด้วย เพื่อปรับปรุงคุณภาพของอาหารที่สัตว์ได้รับทั้งหมด
พืชอาหารสัตว์ใน พื้นที่ต่าง ๆ นับว่ามีความสำคัญเพราะในฤดูแล้ง อาหารสัตว์ขาดแคลน โดยเฉพาะในฤดูเพาะปลูก อาหารสัตว์ขาดแคลนมากในท้องที่ทำนาเพราะเนื้อที่ดินส่วนใหญ่ใช้ในการเพาะ ปลูกเสียหมด ซึ่งจำเป็นต้องหาหญ้าตามหัวไร่ปลายนามาให้กินร่วมกับฟางข้างที่ได้เก็บสะสม ไว้

อยากฝากเพลงนี้     ให้สำหรับคน  ชอบด่า คนอื่นว่า  [ควาย]      http://www.youtube.com/watch?v=r4T2BGyXSPU

จีน-เวียดนามรุมตอมซื้อควายไทย!


นายทองทวี ดีมะการ นายกสมาคมอนุรักษ์ควายไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางจีนและเวียดนามได้นำเข้า กระบือจากประเทศไทยเดือนละ 400-500 ตัว เนื่องจากทางเวียดนามนำกระบือไปใช้เป็นแรงงาน เนื่องจากภาวะน้ำมันแพง ขณะที่จีนหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่มณฑลเฉิงตู มีสัตว์ตายไปจำนวนมาก จึงต้องนำเข้าพ่อแม่พันธุ์กระบือไปเพื่อเพิ่มปริมาณให้มากขึ้น เพราะจีนเองก็ใช้แรงงานจากกระบือเช่นกัน สำหรับพ่อค้าคนกลางที่เป็นผู้รวบรวมซื้อกระบือจากชาวบ้านเพื่อส่งออกครั้ง นี้คือ นายชูวิทย์ (กุ่ย) พิทักษ์พรพัลลภ ส.ส.พรรคพลังประ ชาชน จ.อุบลราชธานี โดยได้รวบรวมจากแหล่งใหญ่ใน จ.อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ส่งออกไปทางด่าน จ.สระแก้ว 
“เป็น เรื่องที่น่าเป็นห่วงมากหากพ่อแม่พันธุ์กระบือลักษณะดีถูกรวบรวมส่งออกไป จำนวนมาก เพราะต่อไปไทยอาจขาดแคลนกระบือได้ เรื่องนี้รัฐบาลจะต้องออกมาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ซึ่งควรจะออกระเบียบห้ามส่งออกกระบือเพศเมีย รวมถึงลูกกระบือแต่ให้ส่งออกได้เฉพาะกระบือเพศผู้ที่อายุมากแล้วเท่านั้น” 
นายวินัย เตาสุภาพ รองประธานกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์หนองไผ่แบน บ้านเนินต้นตาล ต.หนองไผ่แบน อ.เมือง จ.อุทัยธานี กล่าวว่า ช่วงระยะ 2-3 เดือนที่ผ่านมา มีนายทุนและพ่อค้าคนกลางหลายรายมาตระเวนหาซื้อพ่อ-แม่พันธุ์กระบือพันธุ์ดี ตามหมู่บ้านและตลาดนัดโค-กระบือ ในพื้นที่ภาคกลาง แล้วส่งออกไปยังจีนและเวียดนามเดือนละ 300-500 ตัว โดยพ่อค้าจะคัดเลือกเฉพาะพ่อพันธุ์กระบือที่ยังไม่ถูกทำหมันหรือถูกตอนและ กระบือแม่พันธุ์ที่มีรูปร่างและโครงสร้างใหญ่ น้ำหนักตัว 700-1,100 กก. 
“กระบือที่พ่อค้าคนกลางเลือกซื้อล้วน เป็นกระบือไทยพันธุ์ดีพร้อมสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ได้ ราคาตัวละกว่า 40,000 บาท รวมมูลค่าไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท/เดือน ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก เพราะหากขายกระบือไทยชั้นดีไปหมด โดยไม่เร่งผลิตขึ้นมาทดแทนและอนุรักษ์สายพันธุ์เอาไว้ อนาคตอันใกล้นี้เชื่อว่ากระบือพันธุ์ไทยแท้อาจหายากขึ้นและลดเลือนหายไป ขณะที่ไทยเอง จะต้องนำเข้ากระบือจากเพื่อนบ้านทั้งพม่าและลาวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระบือพม่าจะมีขนาดเล็กมาก มีน้ำหนักตัว 300-350 กก.เท่านั้น”
ที่มา ไทยรัฐ

เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับกระบือ

กระบือ


                                                     



   กระบือ
กระบือ หรือควายที่มีเลี้ยงกันอยู่ในภูมิภาคแถบเอเซีย
 มี ต้นกำเนิด มาจากกระบือน้ำป่า (wild water buffalo)
กระบือเลี้ยงที่มีความแตกต่าง กันเนื่องมาจากมีการสืบเชื้อสายมาจากกระบือป่าที่เป็นบรรพบุรุษเป็นกลุ่ม ชนิดย่อย หรือ subspecies ที่ ต่างกัน ซึ่งกระบือป่าชนิดย่อยนี้พบได้ในส่วนต่างๆ ของโลก
กระบือน้ำเอเซีย...
กระบือ น้ำที่เลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบันพบในเขตภูมิอากาศร้อนและชื้น โดย เฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำเป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสัตว์ประเภทนี้ พบ ได้เหมือนกัน (ส่วนน้อย) ที่พบว่ากระบือเป็นสัตว์เลี้ยง ในทางการเกษตรในบางภูมิภาคของโลก กระบือน้ำกว่า ๙๕ เปอร์เซ็นต์ พบอยู่ในแถบเอเซีย และอีกประมาณ ๕ เปอร์เซ็นต์ พบได้ในแถบแอฟริกาและอียิปต์
o    เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับกระบือ
กระบือ เลี้ยงจึงพบมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ ดังต่อไปนี้
o    อ๊อส เตรเลี่ยน (Australian)
o    อี ยิสเตียน (Eqyptian)
o    คัน ดิ (Kundi)
o    มาเลย์เซี่ยน (Malaysian)
o    นิ ลิ ราวิ (Nili-Ravi)